การตรวจวินิจฉัยและระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรีย Leptospira sp. โดยตรงจากสิ่งส่งตรวจทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยและระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรีย Leptospira sp. ในผู้ป่วยไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ผู้แต่ง

  • นภาพร ศรีเด่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณัฐพล นุขุนทด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ชลลดา มีทรัพย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กาญจนา สนองบุญ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ดารารัตน์ แบ่งดี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เดชา แปงใจ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิส, การระบุชนิดเลปโตสไปรา, ไข้ไม่ทราบสาเหตุ, วิวัฒนาการชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

         โรคเลปโตสไปโรสิสเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ปัจจุบันการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการใช้การทดสอบทางซีโรโลยีด้วยวิธี IFA และการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี Real-time PCR การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการติดเชื้อ Leptospira ด้วยวิธี IFA ร่วมกับวิธี Real-time PCR และระบุชนิดของแบคทีเรีย Leptospira จากสิ่งส่งตรวจทางคลินิกโดยตรงของผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ การศึกษาครั้งนี้มีตัวอย่างผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุทั้งสิ้น 2,110 ตัวอย่าง โดยพบการติดเชื้อ Leptospira จำนวน 33 ตัวอย่าง (1.56%) ตัวอย่างที่พบการติดเชื้อถูกนำมาระบุชนิดโดยการศึกษายีน 16S rRNA (rrs2) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ ผลการศึกษาพบว่า มีเพียง 14 ตัวอย่างเท่านั้น ที่สามารถระบุชนิดได้ โดยตัวอย่างถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการใกล้ชิดกับสายพันธุ์ก่อโรคหลัก จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ L. weilii จำนวน 8 ตัวอย่าง L. interrogans จำนวน 5 ตัวอย่าง และ L. alexanderi จำนวน 1 ตัวอย่าง ซึ่งแบคทีเรีย L. weilii และ L. alexanderi ไม่เคยมีการรายงานการตรวจพบและระบุชนิดจากสิ่งส่งตรวจทางคลินิกโดยตรงในประเทศไทยมาก่อน การศึกษาครั้งนี้จึงสามารถอนุมานได้ว่า L. weilii และ L. alexanderi มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นชนิดที่ระบาดในประเทศไทยนอกเหนือจาก L. interrogans

References

Karpagam KB, Ganesh B. Leptospirosis: a neglected tropical zoonotic infection of public health importance-an updated review. Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2020; 39(5): 835-46.

กรมควบคุมโรค. สรุปสถานการณ์ประจำปีโรคเลปโตสไปโรสิส 2567. [ออนไลน์]. 2567; [สืบค้น 23 ส.ค. 2567]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=43

Fouts DE, Matthias MA, Adhikarla H, Adler B, Amorim-Santos L, Berg DE, et al. What makes a bacterial species pathogenic?: Comparative genomic analysis of the genus Leptospira. PLoS Negl Trop Dis 2016; 10(2): e0004403. (57 pages).

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Tangkanakul W, Smits HL, Jatanasen S, Ashford DA. Leptospirosis: an emerging health problem in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2005; 36(2): 281-8.

Vincent AT, Schiettekatte O, Goarant C, Neela VK, Bernet E, Thibeaux R, et al. Revisiting the taxonomy and evolution of pathogenicity of the genus Leptospira through the prism of genomics. PLoS Negl Trop Dis 2019; 13(5): e0007270. (25 pages).

Kurilung A, Perreten V, Prapasarakul N. Comparative genomic analysis and a novel set of missense mutation of the Leptospira weilii serogroup mini from the urine of asymptomatic dogs in Thailand. Front Microbiol 2021; 12: 731937. (17 pages).

Amran F, Noor Halim NA, Muhammad AH, Mohd Khalid MKN, Dasiman NM, Shamsusah NA, et al. Application of multilocus sequence typing for the characterization of Leptospira strains in Malaysia. Trop Med Infect Dis 2023; 8(2): 69. (11 pages).

Kurilung A, Chanchaithong P, Lugsomya K, Niyomtham W, Wuthiekanun V, Prapasarakul N. Molecular detection and isolation of pathogenic Leptospira from asymptomatic humans, domestic animals and water sources in Nanprovince, a rural area of Thailand. Res Vet Sci 2017; 115: 146-54.

Cochran WG, Cox GM. Experimental designs. Raleigh, NC: Department of Statistics, North Carolina State University; 1948.

Trifinopoulos J, Nguyen LT, von Haeseler A, Minh BQ. W-IQ-TREE: a fast online phylogenetic tool for maximum likelihood analysis. Nucleic Acids Res 2016; 44(W1): W232-5.

Stoddard RA, Gee JE, Wilkins PP, McCaustland K, Hoffmaster AR. Detection of pathogenic Leptospira spp. through TaqMan polymerase chain reaction targeting the LipL32 gene. Diagn Microbiol Infect Dis. 2009; 64(3): 247-55.

Ahmed A, Thaipadungpanit J, Boonsilp S, Wuthiekanun V, Nalam K, Spratt BG, et al. Comparison of two multilocus sequence based genotyping schemes for Leptospira species. PLoS Negl Trop Dis 2011; 5(11): e1374. (8 pages).

Thaipadungpanit J, Wuthiekanun V, Chierakul W, Smythe LD, Petkanchanapong W, Limpaiboon R, et al. A dominant clone of Leptospira interrogans associated with an outbreak of human leptospirosis in Thailand. PLoS Negl Trop Dis 2007; 1(1): e56. (6 pages).

World Health Organization. Report of the second meeting of the leptospirosis burden epidemiology reference group. Geneva: World Health Organization; 2011.

ฆาลิตา วารีวนิช. ลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ตอนบน ปี 2560. ว วิชาการสาธารณสุข 2563; 29(4): 580-9.

วราลักษณ์ ตังคณะกุล. โรคเลปโตสไปโรสิสในนักระบาดวิทยาภาคสนาม. ว วิชาการสาธารณสุข 2557; 23(5): 954-62.

อลงกต สุพร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสในโรงพยาบาลมุกดาหาร. ว โรงพยาบาลนครพนม 2567; 11(1): e268471. (17 หน้า).

อมรรัตน์ ชุตินันทกุล, พัศวุฒิ ชนะกิจจานุกิจ, โรม บัวทอง. รายงานสอบสวนการระบาดโรคเลปโตสไปโรซิสหลังเกิดภาวะอุทกภัย มกราคม 2560 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ว ควบคุมโรค 2562; 45(3): 317-29.

Levett PN. Usefulness of serologic analysis as a predictor of the infecting serovar in patients with severe leptospirosis. Clin Infect Dis. 2003; 36(4): 447-52.

Sykes JE, Reagan KL, Nally JE, Galloway RL, Haake DA. Role of diagnostics in epidemiology, management, surveillance, and control of leptospirosis. Pathogens 2022; 11(4): 395. (24 pages).

Philip N, Affendy NB, Masri SN, Yuhana MY, Than LTL, Sekawi Z, et al. Combined PCR and MAT improves the early diagnosis of the biphasic illness leptospirosis. PLoS One. 2020; 15(9): e0239069. (9 pages).

Iwasaki H, Chagan-Yasutan H, Leano PS, Koizumi N, Nakajima C, Taurustiati D, et al. Combined antibody and DNA detection for early diagnosis of leptospirosis after a disaster.

Guglielmini J, Bourhy P, Schiettekatte O, Zinini F, Brisse S, Picardeau M. Genus-wide Leptospira core genome multilocus sequence typing for strain taxonomy and global surveillance. PLoS Negl Trop Dis 2019; 13(4): e0007374. (23 pages).

Mason MR, Encina C, Sreevatsan S, Muñoz-Zanzi C. Distribution and diversity of pathogenic Leptospira species in peri-domestic surface waters from South Central Chile. PLoS Negl Trop Dis 2016; 10(8): e0004895. (16 pages).

Slack AT, Symonds ML, Dohnt MF, Corney BG, Smythe LD. Epidemiology of Leptospira weilii serovar Topaz infections in Australia. Commun Dis Intell Q Rep 2007; 31(2): 216-22.

Brenner DJ, Kaufmann AF, Sulzer KR, Steigerwalt AG, Rogers FC, Weyant RS. Further determination of DNA relatedness between serogroups and serovars in the family Leptospiraceae with a proposal for Leptospira alexanderi sp. nov. and four new Leptospira genomospecies. Int J Syst Bacteriol 1999; 49 Pt 2: 839-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-03-2025

How to Cite

1.
ศรีเด่น น, นุขุนทด ณ, มีทรัพย์ ช, สนองบุญ ก, แบ่งดี ด, แปงใจ เ, โรจนวิวัฒน์ อ. การตรวจวินิจฉัยและระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรีย Leptospira sp. โดยตรงจากสิ่งส่งตรวจทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ: การตรวจวินิจฉัยและระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรีย Leptospira sp. ในผู้ป่วยไข้ไม่ทราบสาเหตุ. ว กรมวิทย พ [อินเทอร์เน็ต]. 28 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 3 พฤษภาคม 2025];67(1):15-27. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/270725

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)