ระบบบริการผู้สูงอายุ การสังเคราะห์การจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัว ในเขตสุขภาพที่ 6 The Synthesis of Health Service Management System for the Elderly of the Family Doctor Clinic in the 6th regional Health Area

Main Article Content

จันทณา วังคะออม

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจโดยเก็บข้อมูลแบบผสมผสานทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและกลไกในระบบจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุโดยคลินิกหมอครอบครัวอันจะนำไปสู่การสังเคราะห์การจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัวเขตสุขภาพที่ 6 ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน พ.ศ. 2565 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้บริการ ได้แก่ ข้อมูลความคิดเห็นต่อการจัดบริการฯจากผู้แทนคลินิกหมอครอบครัวที่สุ่มแบบสัดส่วน จำนวน 134 คน และข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดบริการจากผู้แทนคลินิกหมอครอบครัวที่มีผลลัพธ์การจัดบริการที่สูงที่สุดทั้ง 3 รูปแบบจำนวน 7 คนที่สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุที่รับบริการจากคลินิกหมอครอบครัว จำนวน 202 คนกระจายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงแก่นสาระ


               ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัว ได้แก่ องค์ประกอบที่สำคัญประกอบด้วยภาคีเครือข่ายบริการ ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินการ เช่น บุคลากร ฐานข้อมูลสุขภาพ ยาและเวชภัณฑ์ การเงินการคลัง ผ่านกลไกในการดำเนินการได้แก่ การวางแผนงาน การดำเนินการ การประสานงานและการประเมินผล เพื่อให้เกิดบริการผู้สูงอายุทั้ง 13 บริการ จนนำไปสู่ผลลัพธ์ของการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ


               จากผลการศึกษาดังกล่าว พบปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จึงมีข้อเสนอแนะทั้งในระดับเขตสุขภาพที่ต้องกำหนดประเด็นการขับเคลื่อนคลินิกหมอครอบครัวในการให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุให้เป็นแนวนโยบายที่สำคัญของเขต โดยจัดทำแผนพัฒนาบริการ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นแกนนำในการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ส่วนระดับพื้นที่ ควรนำแผนการดำเนินการจัดบริการสุขภาพของผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัวเข้าไปสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นและเน้นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการทำงานผ่านภาคีเครือข่ายที่มีศักยภาพในชุมชนต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580). เอกสารอัดสำเนา; 2565.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพเพื่อรองรับ สังคมสูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) เขตสุขภาพที่ 6. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 25]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ reports/page.php?cat_id =6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC). บ[เข้าถึงเมื่อ 2565 กรกฎาคม 25]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ reports/page.php?cat_id =6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. (2565) เอกสารแนบท้ายประกาศเรื่องประกาศการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ ประจำปีงบประมาณ 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 พฤษภาคม 15]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/ site/primarycarecluster2017/home.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 พ.ศ.2560-2564. [เข้าถึงเมื่อ 2565 พฤษภาคม 15]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/

download/plan12 .

Krejcie & Morgan (1970), Determining sample size for research activity,Educational and Psycological Measurement,1970: 607-610.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

Alboksmaty A., Kumar S., Parekh R., Aylin P. Management and patient safety of complex elderly patients in primary care during the COVID-19 pandemic in the UK-Qualitative assessment. PLoS ONE 2021 [cited 2022 Sep 22]; 16(3); e0248387. Available form: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8006979/

Elliott J, Stolee P., Boscart V., Giangregorio L., Heckman G. Coordinating care for older adults in primary care settings: understanding the current context. BMC Family Practice 2018;19:137-146.

Frank CC., Feldman S., Wyman R. Caring for older patients in primary care: Wisdom and innovation from Canadian family physicians. Canadian Family physician 2018; June:416-418.

Lliffe S. Family medicine in an aging society. Canadian Family physician 2009; May: 463-464.

Noor S., Isa FM., Hossain MS., Shafiq A. Ageing care center: Mediating role of quality care and proactive environment. Journal of population and social studies 2020; 28(4);324-347.

Teddie C., Tashakkori A. Foundations of mined methods research: integrating quantitative and qualitative approaches in the social and behavioral science. Los Angeles: Sage publishing; 2007.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO document production services; 2010.