ผลทันทีและผลระยะสั้นของการออกกำลังกายขณะนั่งและฤๅษีดัดตนต่อองศาการเคลื่อนไหวของลำตัว ในผู้ที่มีสุขภาพดีแต่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน ตอบสนองความสะดวกสบายของมนุษย์ ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายลดลง นั่งนาน ทำให้กล้ามเนื้อหลังขาดความยืดหยุ่น และทำให้เกิดอาการปวดหลัง การออกกำลังกายที่เหมาะสมช่วยยืดกล้ามเนื้อหลัง ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของลำตัว และลดปวดหลัง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลทันทีและผลระยะสั้นของการออกกำลังกายขณะนั่งและฤๅษีดัดตนต่อองศาการเคลื่อนไหวในทิศทางก้มลำตัวและแอ่นลำตัว ศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีแต่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย 20 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มออกกำลังกายขณะนั่ง และกลุ่มคือฤๅษีดัดตน แต่ละกลุ่มฝึก 4 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาทีต่อวัน 7 วัน ผลการศึกษา การออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบสามารถเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในทิศทางแอ่นลำตัวหลังออกกำลังกายทันทีและหลังออกกำลังกาย 7 วันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทิศทางก้มลำตัวหลังออกกำลังกายทันทีและหลังออกกำลังกาย 7 วันของการออกกำลังกายในทั้ง 2 กลุ่ม (p>0.05) สรุปว่าการออกกำลังกายขณะนั่งและฤๅษีดัดตน สามารถเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในทิศทางแอ่นลำตัวได้หลังออกกำลังกายทันทีและหลังออกกำลังกาย 7 วัน
Article Details
References
Hu, F,B., Li, T,Y., Colditz, G,A., Willett, W,C., Manson, J,E. Television watching and other sedentary behaviors in relation to risk of obesity and type 2 diabetes mellitus in women. JAMA. 2003; 289(14): 1785-1791.
Leon, A., Rodriguez-Perez Mdel, C., Rodriguez-Benjumeda, L. M., Ania-Lafuente, B., Brito-Diaz, B., Muros de Fuentes, M., Aguirre-Jaime, A. Sedentary lifestyle: physical activity duration versus percentage of energy expenditure. Rev Esp Cardiol. 2007; 60(3): 244-250.
Yaprak Yildiz. A comparison of spine ROM and physical fitness parameters in active females and sedentary females. SportsMed. 2014; 40: 2462-2464.
Battie MC, Bigos SJ, Fisher LD, Spengler DM, Hansson TH, Nachemson AL, Wortley MD. The role of spinal flexibility in back pain complaints within industry. Spine. 1990; 15(8): 786-773.
สุกัญญา อังศิริกุล, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ บินโฮเซ็น. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24(1): 39-50.
วะนิดา น้อยมนตรี, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 23(2): 31-40.
Fryer, J., & Zhang, W. Preliminary investigation into a seated unloading movement strategy for the lumbar spine: A pilot study. Journal of Bodywork and Movement Therapies. 2010; 14(2): 119-126.
Chatchawan, U., Jupamatangb, U., Chanchitc, S., Puntumetakul, R., Donpunha, W., & Yamauchi, J. Immediate effects of dynamic sitting exercise on the lower back mobility of sedentary young adults. J Phys Ther Sci. 2015; 27(11): 3359-3363.
วรรณพร สำราญพัฒน์, ยอดชาย บุญประกอบ, วิชัยอึงพินิจพงศ, รุ้งทิพย์พันธุเมธากุล. ผลทันทีของการฝึกฤาษีดัดตนแต่ละท่าต่อความยืดหยุ่นของหลัง. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 12 (หน้า 1367-1373). ขอนแก่น: 2552, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Mckenzie, & May. The Lumbar Spine: Mechanical Diagnosis and Therapy New Zealand: Spinal Publications. 2003.
Knudson D. The Biomechanics of Stretching. Journal of Exercise Science & Physiotherapy. 2006; 2: 3-12.
Holzapfel, G,A. (Biomechanics of Soft Tissue. Biomech preprint series paper. 2000; 7.