Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery ISSN: 0857-2321 ISSN: 2730-3039 (Online). Welcomes submissions from the fields of otology, rhinology, facial plastic surgery, and related academic disciplines. The journal publishes two issues per year, in June and December, covering topics related to these fields.

วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 (2023) : มกราคม - มิถุนายน เปิดรับพิจารณาบทความเพื่อตีพิพม์

2023-01-27

วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 (2023) : มกราคม - มิถุนายน

เปิดรับพิจารณาบทความเพื่อตีพิพม์

ประเภทบทความที่รับพิจารณา

  • นิพนธ์ต้นฉบับ ควรจะเรียงลำดับเป็นข้อๆ ได้แก่ บทนำ เหตุผลที่ทำการศึกษา  รวมทั้งวัตถุประสงค์ วัสดุ      

(หรือผู้ป่วย) วิธีการ ผล บทวิจารณ์ และสรุป

  • รายงานผู้ป่วย ควรประกอบด้วย บทนำ รายงานผู้ป่วย บทวิจารณ์ ข้อคิดเห็น และสรุป
  • บทความปริทัศน์ ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่ หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ ประกอบด้วย บทนำ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียน บทวิจารณ์และเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัย

 

เปิดรับบทความวิจัย ตั้งแต่วันนี้  - พฤษภาคม 2566

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02 – 201 - 1515

Vol. 25 No. 1 (2024): Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery

วารสารฉบับนี้เป็นการส่งท้ายก่อนการขอรับการประเมินเพื่อยกระดับวารสารของราชวิทยาลัยของเราให้เลื่อนสู่ระดับสองซึ่งกองบรรณาธิการขอขอบคุณท่านสมาชิกราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกวิทยาทุกท่านจากทุกภาคส่วนที่ช่วยกันส่งบทความ งานวิจัยมาลงตีพิมพ์ รวมถึงทีมงานนักวิชาการต่างๆที่เป็นผู้ ทบทวน ตรวจสอบ กำกับคุณภาพของงานวิจัย บทความให้มีมาตรฐานสากล และมีผลการดำเนินงานที่ดีออกมาได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงทีมงานback office ที่เข้มแข็งในการประสานงานและผลิตรูปเล่มวารสารให้ออกมาได้อย่างเรียบร้อยสวยงาม ทางกองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับการสนับสนุน เช่นนี้ มากยิ่งขึ้นไปภายหน้าเพื่อให้วารสารของราชวิทยาลัยเป็นที่พึ่งในด้านวิชาการที่สำคัญของสมาชิกราชวิทยาลัยในทุกระดับและสามารถเผยแพร่สู่ระดับสากลได้ในอนาคตอันใกล้นี้

 

ผาเก็บตะวันเป็นภาพที่นำมาขึ้นปกวารสารฉบับนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณ bu buebue ให้นำมาเผยแพร่ เป็นภาพแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่สำคัญ ในพื้นที่ป่าทับลานที่เป็นประเด็นร้อนในสังคมปัจจุบัน   หากมีพระอาทิตย์ แต่ไม่มีผืนป่าบนโลก ความร้อนคงแผดเผาทุกสรรพสิ่ง ป่าทำหน้าที่บ้านปกคลุมผืนดิน เป็นแหล่งที่พักอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดเป็นต้นกำเนิดพืชพรรณต่างๆให้มนุษย์ได้ทำประโยชน์ และที่สำคัญกับภูมิอากาศของโลกในยามนี้คือการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ให้มีมากเกินไป ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการลดภาวะโลกร้อนเราควรช่วยกันอนุรักษ์ผืนป่าไว้ให้กับลูกหลานของเรา และเป็นกระบอกเสียงแทนสัตว์ป่าทั้งหลายที่ไม่สามารถมาประท้วงมนุษย์ถึงการบุกรุกทำลายผืนป่าที่เหมือนเป็นบ้านของสัตว์ป่าเหล่านั้น

Published: 2024-07-17

View All Issues