ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังที่โรงพยาบาลมะการักษ์

ผู้แต่ง

  • Ratcha Lomaneenopparat, M.D. กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง, การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังโดยประเมินอาการเหนื่อย สมรรถภาพปอดและความสามารถในการออกกำลังกายเมื่อเริ่มต้นและหลัง 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฟื้นฟู
วิธีการศึกษา : ศึกษาเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยคลินิกโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังช่วงเดือนมีนาคมถึงธันวาคม 2556 จำนวน 63 คน ได้รับการรักษาตามปกติ 30 คน และได้รับการพื้นฟูสมรรถภาพปอด 33 คน ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว ประวัติการสูบบุหรี่ ประเมินระดับความรุนแรงของโรคโดยใช้แบบสอบถาม CAT และ MMRC วัดสมรรถภาพปอดโดยวัดค่า PEFR ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ผู้ที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจะได้วัดระยะทางที่เดินได้ในเวลา 6 นาที และค่าคะแนนความเหนื่อย โดยใช้ Borg scale ติดตามผลหลัง 12 สัปดาห์ และบันทึกจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือต้องนอนโรงพยาบาลด้วยอาการของโรคนี้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีข้อมูลพื้นฐานและคะแนน CAT MMRC และค่า PEFR ไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มีการเปลี่ยนแปลงของคะแนน MMRC ค่า PEFR ระยะทางที่เดินได้ในเวลา 6 นาที และคะแนน Borg scale อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนคะแนน CAT ดีขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มีคะแนน CAT MMRC และค่า PEFR ดีขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีผลเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย ลดอาการเหนื่อยขณะออกกำลังกายและเพิ่มสมรรถภาพปอด

Author Biography

Ratcha Lomaneenopparat, M.D., กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ว.ว. เวชศาสตร์ฟื้นฟู

References

1. Magnussen H, Watz H. Systemic inflammation in chronic obstructive pulmonary disease and asthma: relation with comorbidities. Proc Am Thorac Soc 2009;6(8):648-51.

2. Celli BR, Cote CG, Lareau SC, et al. Predictors of survival in COPD: more than just FEV1. Respir Med 2008;102(1):S27-35.

3. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global strategy for thediagnosis, management and prevention of chronic obstructive pulmonary disease. 2011. [cited 2013 Feb 3]. Available from:URL:https://www.goldcopd.org/Guidelines/guidelinesesources.html.

4. คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2553.

5. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอด. [ออนไลน์]. 2551. [วันที่สืบค้น 3 ก.พ. 2556]. เข้าถึงได้จาก : URL:https://www.thaichest.org/GuidelinePFT.pdf

6. ATS Committee on Proficiency Standards for Clinical Pulmonary Function Laboratories. ATS statement: guidelines for the six-minute walk test. Am J Respir Crit Care Med 2002;166:111-7.

7. Spruit MA, Polkey MI, Celli B, et al. Predicting outcomes from 6-minute walk distance in chronic obstructive pulmonary disease. J Am Med Dir Assoc 2012;13:291-7.

8. Vestbo J, Prescott E, Almdal T, et al. Body mass, fat-free body mass, and prognosis in patients with chronic obstructive pulmonary disease from a random population sample: findings from the Copenhagen City Heart Study. Am J Respir Crit Care Med 2006;173(1):79-83.

9. Strijbos JH, Postma DS, van Altena R, et al. A comparison between an outpatient hospital-based pulmonary rehabilitation program and a home-care pulmonary rehabilitation program in patients with COPD. A follow-up of 18 months. Chest 1996;109:366-72.

10. Lacasse Y, Martin S, Lasserson TJ, et al. Meta-analysis of respiratory rehabilitation in chronic obstructive pulmonary disease. A Cochrane systematic review. Eura Mediccophys 2007;43(4):475-85.

11. Goldstein RS, Gort EH, Stubbing D, et al. Randomised controlled trial of respiratory rehabilitation. Lancet 1994;344(8934):1394-7.

12. Cote CG, Celli BR. Pulmonary rehabilitation and the BODE index in COPD. Eur Respir J 2005;26(4):630-6.

13. Qaseem A, Wilt TJ, Weinberger SE, et al. Diagnosis and management of stable chronic obstructive pulmonary disease: a clinical practice guideline update from the American College of Physicians, American College of Chest Physicians, American Thoracic Society, and European Respiratory Society. Ann Intern Med 2011;155(3):179-91.

14. Griffiths TL, Burr ML, CampbellI A, et al. Results at 1 year of outpatient multidisciplinary pulmonary rehabilitation: a randomized controlled trial. Lancet 2000;355(9201):362-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-21