การลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือด เพื่อการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทกรณีไม่เร่งด่วนในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
การจองเลือดแบบ type and screen, อัตราการใช้เลือดเมื่อเทียบกับยูนิตที่จอง, การเตรียมเลือดสำหรับผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทที่ไม่เร่งด่วนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเหมาะสมและคุ้มค่าในการใช้เลือด และค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดในการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทในกรณีไม่เร่งด่วน
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลการเตรียมเลือดและการใช้เลือดจริงเพื่อการผ่าตัดในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาท จากแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยระหว่างการดมยาสลบ และระหว่างอยู่ในห้องพักฟื้น ระหว่างเดือนมิถุนายน 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทที่มารับการผ่าตัดกรณีไม่เร่งด่วนจำนวน 246 ราย พบว่ามีการเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดจำนวน 245 ยูนิต สำหรับผู้ป่วย 137 ราย แต่มีการใช้เลือดจริงจำนวน 27 ยูนิต สำหรับผู้ป่วย 20 ราย อัตราการใช้เลือดเมื่อเทียบกับจำนวนยูนิตที่ขอ (C/T ratio) เท่ากับ 9.07 อัตราจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับเลือดต่อจำนวนผู้ป่วยที่ทำ cross match (%T) เท่ากับ 14.6 จำนวนยูนิตของเลือดที่ผู้ป่วยได้รับต่อรายของผู้ป่วยที่ทำ cross match ทั้งหมด (Ti) เท่ากับ 0.2 โดยมีค่าใช้จ่ายจากการเตรียมเลือด เพื่อการผ่าตัดเท่ากับ 53,430 บาท แต่มีการใช้จริง 10,530 บาท
สรุป : การจองเลือดสำหรับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทยังมากเกินความต้องการที่จะให้กับผู้ป่วย หากสามารถเปลี่ยนจากการ cross match มาเป็นการทำ type and screen แทนในหัตถการที่มีความเสี่ยงในการเสียเลือดน้อย เพื่อลดการเตรียมเลือดที่ไม่เหมาะสม และลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งลดภาระงานและการจัดการเลือดของธนาคารเลือด
References
2. Wong L, Cheng G. Type and screen of blood units at a teaching hospital. Hong Kong Med J 1995;1:27-30.
3. Gombotz H, Rehak PH, Shander A, et al. Blood use in elective surgery: the Austrian benchmark study. Transfusion 2007;47(8):1468-80.
4. Chawla T, Kakepoto GN, Khan MA. An audit of blood cross-match ordering practices at the Aga Khan University Hospital: first step towards a Maximum Surgical Blood Ordering Schedule. J Pak Med Assoc 2001;51(7):251-4.
5. Chow E. The impact of the type and screen test policy on hospital transfusion practice. Hong Kong Med J 1999;5(3):275-9.
6. Guidelines for implementation of a maximum surgical blood order schedule. The British Committee for Standards in Haematology Blood Transfusion Task Force. Clin Lab Haematol 1990;12(3):321-7.
7. Jayaranee S, Prathiba R, Vasanthi N, et al. An analysis of blood utilization for elective surgery in a tertiary medical centre in Malaysia. Malays J Pathol 2002;24(1):59-66.
8. Vibhute M, Kamath SK, Shetty A. Blood utilisation in elective general surgery cases: requirements, ordering and transfusion practices. J Postgrad Med 2000;46(1):13-7.
9. Komatsu H, Mitsuhata H, Hasegawa J, et al. Evaluation of efficacy of maximum surgical blood order schedule (MSBOS) in the operating room. Masui 1992;41(6):914-8.
10. Crawford-Sykes A, Ehikhametalor K, Tennant I, et al. Blood use in neurosurgical cases at the university hospital of the west indies. West Indian Med J 2014;63(1):54-8.
11. ผกาวรรณ ชนะชัยสุวรรณ. Blood utilization in elective surgery at Police General Hospital.
วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2553;20(2):93-104.
12. Soomro R, Javed MR, Ali SA. Arrangements and use of blood in elective surgical procedures. Professional Med J 2011;18(2):212-4.
13. Wanasuwannakul T, Vasinanukorn M, Lim A. Appropriate blood order for elective surgical procedures in Songklanagarind Hospital : analyzed from the types of operation, patients’ baseline hematocrit and underlying diseases. Thai J Anesthesiol 2005;31(4):271-80.
14. ศรีวิไล ตระกูลเกษมสิริ. การลดค่าใช้จ่ายในการจองเลือดด้วย Type and Screen protocol ในผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2550;40(2):114-7.
15. มุจรินทร์ ติลกเลิศ, กนกวรรณ กลั่นกลิ่น, จุฑารัก ยิ้มสบาย. การลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดเพื่อผ่าตัดโดยวิธี Type and Screen. พุทธชินราชเวชสาร 2550;24(1):48-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์