การพัฒนาและเสริมสร้างการเรียนรู้ เพื่อการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของพยาบาลหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Kannika Prawatvatchara, B.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม
  • Tayanee Naranong, M.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม
  • Amornrat Naklamai, M.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การเสริมสร้างการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, พยาบาลพี่เลี้ยง, ระดับความรุนแรงของภาวะการเสียเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการ การพัฒนาและกระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้ เพื่อการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลพี่เลี้ยง 12 คน พยาบาลประจำการ 35 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หอเดียวกับพยาบาลพี่เลี้ยง และผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม แบ่งเป็นก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มละ 30 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2557

ผลการศึกษา : 1) ระยะการศึกษาเชิงสำรวจ พยาบาลหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ พบว่าการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การระบุความรู้ และการแสวงหาความรู้ มีประสิทธิผลมากที่สุด  2) ระยะการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พยาบาลพี่เลี้ยง พบว่า การใช้บทบาท สมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง แนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และการเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีประสิทธิผลมากที่สุด  3) ระยะการเสริมสร้างการเรียนรู้ พยาบาลพี่เลี้ยงเห็นว่าการใช้บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงด้าน ผู้ปฏิบัติการพยาบาล และการเสริมสร้างพลังอำนาจ การเข้าถึงโครงสร้างด้านทรัพยากรอยู่ในระดับมากที่สุด พยาบาลประจำการเห็นว่าพยาบาลพี่เลี้ยงมีสมรรถนะด้านการเป็นที่ปรึกษา ด้านการเป็นกัลยาณมิตร และด้านการสอนงาน อยู่ในระดับมากที่สุด และเห็นว่าการใช้บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงมีประโยชน์ระดับมาก ในข้อที่ว่าสามารถป้องกันความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้ 4) หลังการพัฒนา ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลพี่เลี้ยง และพยาบาลประจำการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความสามารถของพยาบาลประจำการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับความรุนแรงของภาวะการเสียเลือดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป : การพัฒนาและเสริมสร้างการเรียนรู้ เพื่อการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ของพยาบาลหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โดยการใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของพยาบาลพี่เลี้ยง ผ่านรูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และกระบวนการกลุ่ม การใช้บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง การได้เสริมพลังอำนาจ ทำให้บุคลากรพยาบาลเพิ่มสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยมากที่สุด

References

1. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. จาก Counter สู่ข้างเตียง ลดความเสี่ยงเพื่อคุณภาพ. [วันที่สืบค้น 20 เม.ย. 2557] เข้าถึงได้จาก : URL : http://www.ha.or.th/km_f15/ab/E/204/files/sapphire%20204.pdf

2. ไพโรจน์ ชลารักษ์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารราชภัฏตะวันตก 2549;1:17-23.

3. Marquardt MJ. The Global Advantage: How World-class organizations improve performance through globalization. Houston, Texas: Routledge; 1999.

4. พรทิพย์ อุดมสิน. หลักในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

5. ญาณี เพิ่มสุข. การเสริมสร้างพลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายโซนใต้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

6. บุญรักษ์ สุธาชัย. การพัฒนากรอบสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

7. เยาวลักษณ์ สงวนพาณิช. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาด้านบริการพยาบาลในโรงพยาบาลนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการจัดการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2552.

8. Kolb DA. Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1984.

9. ศิริพร เลาหสุวรรณพานิช และคณะ. การวิเคราะห์และการประเมินผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลพี่เลี้ยงของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศิริราช 2550;1(1):37-49.

10. วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท, นรชาติ ศิริศรีตรีรักษ์. การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. ใน: วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท, บรรณาธิการ. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและการรักษาภาวะแทรกซ้อน. กรุงเทพ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2556. หน้า 69-76.

11. ธนะสิทธิ์ หุตะโชค. หลักการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะช็อกจากอุบัติเหตุ. ใน: สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล, ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล, บรรณาธิการ. ภาวะช็อก. กรุงเทพฯ: เมดิคัล ครีเอดีฟ; 2545.

12. วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์. Crystalliod VS colloid. ใน: เอกวินทร์ ภูมิเชษฐ, ไชวัตน์ เพิ่มพิกุล, บรรณาธิการ. critical care: towards optimal perfection. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์; 2552.

13. Kolb AY, Kolb DA. Learning styles and learning spaces: Enhancing experiential learning in higher education. AMLE 2005;4(2):193-212.

14. Turner DS, Beddoes L. Using reflective models to enhance learning: Experiences of staff and students. Nurse Educ Pract 2007;7:135–40.

15. สุณี สุวรรณพสุ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานต่อความสามารถในการตัดสินใจด้านการบริหารงานของพยาบาลหัวหน้าเวร. วารสารพยาบาลทหารบก 2547;2:49-57.

16. วัลลภา บุญรอด. การพัฒนาเครื่องมือและโมเดลการวัดประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาลสำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. คณะครุศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

17. Willis Commission. Quality with compassion: the future of nursing education. Report of the Willis Commission 2012. [citied 2014 June 10]. Available from : URL : http:www.williscommission.org.uk/__data/assets/pdf_file//0007/495115/Willis_commission_report_Jan_2013.pdf

18. Kuokkanen L, Leino-Kilpi H. Power and empowerment in nursing: three theoretical approaches. J Adv Nurs 2000;31(1):235-51.

19. Joint Commission. Sentinel event alert: Preventing infant death and injury during delivery. The Joint Commission: Sentinel Event Alert, Issue 30. Kohn LT, Corrigan JM, Donaldson MS. To err is human: building a saferhealth system. National Academies Press; 2004.

20. Bunnell CA, Gross AH, Weingart SN, et al. High performance teamwork training and systems redesign in outpatient oncology. BMJ Qual Saf 2013;22(5):405-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-21