การติดตามผลการใช้งานฟันเทียมเมื่อเวลา 5 ปี ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน: กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
ฟันเทียม, ดัชนีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อติดตามผลการใช้งานฟันเทียมของผู้สูงอายุ ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลนครปฐม ในด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพฟันเทียม เป็นระยะเวลา 5 ปี
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบติดตามผล (retrospective longitudinal study) โดยมีประชากรศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการฟันเทียมพระราชทาน จากทะเบียนผู้รับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลนครปฐม ในปี 2552 ทั้งหมด 102 คน กำหนดเกณฑ์คัดเข้า คือ ผู้สูงอายุทั้งหมดที่ได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปาก จากโรงพยาบาลในปี 2552 และเกณฑ์คัดออก คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยหนัก เสียชีวิตย้ายภูมิลำเนา และผู้ที่เลิกใส่ฟันเทียม การเก็บข้อมูล ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป สัมภาษณ์ผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อสมรรถภาพในชีวิตประจำวัน โดยใช้ดัชนี Oral Impacts on Daily Performance (OIDP) และประเมินคุณภาพฟันเทียม
ผลการศึกษา : ผู้สูงอายุที่ยังใช้ฟันเทียมทั้งปาก ต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปี จำนวนทั้งสิ้น 39 คน มีอายุเฉลี่ย (+ S.D.) 74 + 7.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 69) ผู้สูงอายุบางคนต้องพึ่งพา (ร้อยละ 33) แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในระดับดี (ค่าเฉลี่ย OIDP = 3.9) แต่พบมีความชุกของการได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (OIDP>0) ร้อยละ 28.2 ซึ่งผลกระทบที่พบมากที่สุดเกี่ยวกับปัญหาด้านการรับประทานอาหาร (ร้อยละ 25.6) จากการประเมินคุณภาพฟันเทียมโดยทันตแพทย์ พบปัญหาฟันเทียมขาดการยึดอยู่ ร้อยละ 46.2 และฟันเทียมไม่เสถียร ร้อยละ 43.6 พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุไม่เคยมาพบทันตแพทย์หลังจากใส่ฟันเทียมไปแล้ว หรือบางส่วนเคยมาพบ เมื่อมีปัญหาเท่านั้น
ข้อเสนอแนะ : ควรจัดบริการเชิงรุก เพื่อสนับสนุนการตรวจติดตามผลการใช้งานฟันเทียมเป็นระยะ และปรับปรุงข้อกำหนดระยะเวลา ในการเปลี่ยนฟันเทียมชุดใหม่ ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละกรณี
References
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการจัดบริการใส่ฟันเทียมโครงการฟันเทียมพระราชทานปี 2548-2557. [วันที่สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2557] เข้าถึงได้จาก: URL: http://dental.anamaimoph.go.th/oralhealth/elderly/elderlyclub/denture_all_update.php.
3. พจมาน ศรีนวรัตน์, เพ็ญประภา ฤชุวรารักษ์. การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยใส่ฟันปลอมทั้งปาก : 3-5 ปี ภายหลังการรักษา. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล 2540;17:61-8.
4. Jeganathan S, Payne JA. Common faults in complete dentures: a review. Quintessence Int 1993;24(7):483-7.
5. Magnusson T. Clinical judgement and patiends’ evaluation of complete dentures five years after treatment. A follow-up study. Swed Dent J 1986;10(1-2):29-35.
6. Bilhan H, Geckili O, Ergin S, et al.Evaluation of satisfaction and complications in patients with existing complete dentures. J Oral Sci 2013;55(1):29-37.
7. Takamiya AS, Monteiro DR, Marra J, et al. Complete denture wearing and fractures among edentulous patients treated in university clinics. Gerodontology 2012;29(2):e728-34.
8. Bilhan H, Erdogan O, Ergin S, et al. Complicationrates and patient satisfaction with removable dentures. J Adv Prosthodont 2012;4(2):109-15.
9. Nevalainen MJ, Rantanen T, Närhi T, et al. Complete dentures in the prosthetic rehabilitation of elderly persons: five different criteria to evaluate the need for replacement. J Oral Rehabil 1997;24(4):251-8.
10. Kovaci I, Celebi A, Zlatari DK, et al. Decreasing of residual alveolar ridge height in complete denture wearers. A five year follow up study. Coll Antropol 2010;34(3):1051-6.
11. พิมพ์วิภา เศรษฐวรพันธ์, ทรงชัย ฐิตโสมกุล, ไพฑูรย์ ดาวสดใส. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก และความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปแบบภาษาไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2557;64(3):26-46.
12. Hussain AI. Lifetime of Complete Dentures. Al- Anbar Med J 2009;7(1):138-43.
13. Gosavi SS, Ghanchi M, Malik SA, et al. A survey of complete denture patients experiencing difficulties with their prostheses. J Contemp Dent Pract 2013;14(3):524-7.
14. บุญเอื้อ ยงวานิชกร, ปิยะดา ประเสริฐสม. ความสัมพันธ์ของปัจจัยสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2554;16(1):57-73.
15. สุปราณี ดาโลดม, นนทลี วีรชัย, วรางคณา เวชวิธี และคนอื่นๆ. การประเมินผลโครงการฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2550. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551;13(5):70-83.
16. นิมิตร เตชะวัชรีกุล. สุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต และภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทานของโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
17. บังอร กล่ำสุวรรณ์, ปิยะนุช เอกก้านตรง. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อโครงการฟันเทียมพระราชทานเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 และ 12. ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 6.
18. ดวงพร ศิริเทพมนตรี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ หลังใส่ฟันเทียมพระราชทาน. วชิรเวชสาร 2552:(1):39-47.
19. Adulyanon S, Sheiham A. Oral impacts on daily performances. In: Slade GD. (Ed.), Measuring oral health and quality of life. Chapel Hill, USA: University of North Carolina, Dental Ecology, 1997. p. 151-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์