ประสบการณ์ปีแรกของการริเริ่มผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องในโรงพยาบาลอำเภอ

ผู้แต่ง

  • Noppamart Whangteeranon, M.D. โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง, โรงพยาบาลอำเภอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง ในปีแรกของการเริ่มผ่าตัดที่โรงพยาบาลอำเภอ

วิธีการศึกษา:  ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องทั้งหมด ในระยะเวลา 1 ปีแรก โดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วย  รายละเอียดการผ่าตัด  ผลการผ่าตัด  และภาวะแทรกซ้อนโดยใช้ค่าร้อยละ  พิสัย  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา:  กลุ่มผู้ป่วยหญิง 27 ราย มีอายุ 17 - 59 ปี ผ่าตัดผ่านกล้องสำเร็จ 25 ราย มี 2 รายที่เปลี่ยนแผนระหว่างผ่าตัดเป็นเปิดหน้าท้อง น้ำหนักมดลูกอยู่ในช่วง 80 - 720 กรัม ค่าเฉลี่ย 251.4 กรัม ใช้เวลาผ่าตัดเฉลี่ย 184.5 นาที เสียเลือดระหว่างผ่าตัดเฉลี่ย 196.2 มิลลิลิตร ผู้ป่วยส่วนใหญ่นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 2 วัน ไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ต้องผ่าตัดแก้ไข

สรุป:  การริเริ่มผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องในโรงพยาบาลอำเภอที่มีเครื่องมือ โดยสูตินรีแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางแล้วนั้น สามารถทำได้จริง และปลอดภัยเพียงพอ

Author Biography

Noppamart Whangteeranon, M.D., โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ว.ว. สูติศาสตร์และนรีเวชกรรม

References

1. Johnson N, Barlow D, Lethaby A, et al. Surgical approach to hysterectomy for benign gynaecological disease. Cochrane Database Syst Rev 2006;19:CD003677.

2. Schindlbeck C, Klauser K, Dian D, et al. Comparison of total laparoscopic, vaginal and abdominal hysterectomy. Arch Gynecol Obstet 2008;277:331-7.

3. Lee CL, Huang KG, Jain S, et al. A new portal for gynecologic laparoscopy. J Am Assoc Gynecol Laparosc 2001;8:147-50.

4. Olive DL, Parker WH, Cooper JM, et al. The AAGL classification system for laparoscopic hysterectomy. Classification committee of the American Association of Gynecologic Laparoscopists. J Am Assoc Gynecol Laparosc 2000;7:9-15.

5. Clark Donat L, Clark M, Tower AM, et al. Transvaginal Morcellation. JSLS 2015;19(2).pii:e2014.00255.

6. Gerges FJ, Kanazi GE, Jabbour-Khoury SI. Anesthesia for laparoscopy: a review. J Clin Anesth 2006;18:67-78.

7. Roman JD. Patient selection and surgical technique may reduce major complications of laparoscopic-assisted vaginal hysterectomy. J Minim Invasive Gynecol 2006;13:306-10.

8. O’Hanlan KA, Dibble SL, Garnier AC, et al. Total laparoscopic hysterectomy: technique and complications of 830 cases. JSLS 2007;11:45–53.

9. Wattiez A, Soriano D, Cohen SB, et al. The learning curve of total laparoscopic hysterectomy: comparative analysis of 1647 cases. J Am Assoc Gynecol Laparosc 2002;9:339-45.

10. Diamantis T, Kontos M, Arvelakis A, et al. Comparison of monopolar electrocoagulation, bipolar electrocoagulation, Ultracision, and Ligasure. Surg Today 2006;36:908-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-24