การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี เขตสุขภาพที่ 5 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • Kitti Kanpirom, M.D. สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • Puangpaka Masena, Ph.D. สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พัฒนาการเด็ก, เด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี, เขตสุขภาพที่ 5

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี เขตสุขภาพที่ 5 และประเมินพัฒนาการการคัดกรองเด็กอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือนด้วย DSPM และ TEDA4I

วิธีการศึกษา: สำรวจพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี เขตสุขภาพที่ 5 ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กแรกเกิดด้วย DSPM ช่วงเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: ประเมินพัฒนาการ DSPM เด็กอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน เขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 11,833 คนคิดเป็นร้อยละ 88.25 ของเป้าหมาย พัฒนาการสมวัย จำนวน 8,986 คน (ร้อยละ 75.94) กระตุ้นพัฒนาการ (เด็กที่มีผลการพัฒนาการสมวัยล่าช้า) จำนวน 2,786 คน (ร้อยละ 23.54) และส่งต่อ จำนวน 61 คน (ร้อยละ 0.52) ตรวจคัดกรอง DSPM เด็กสงสัยล่าช้าต้องได้รับการส่งเสริม/กระตุ้นภายใน 1 เดือน เด็กอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน ประเมิน TEDA4I เด็กติดตามได้ จำนวน 1,972 คน (ร้อยละ 70.7) พัฒนาการสมวัย จำนวน 1,919 คน พัฒนาการไม่สมวัยหลังได้รับการส่งเสริม/กระตุ้น จำนวน 53 คน เด็กที่พัฒนาการล่าช้าด้านการเคลื่อนไหว (GM) จำนวน 10 คน ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (FM) จำนวน 17 คน ด้านความเข้าใจภาษา (RL) จำนวน 23 คน ด้านการใช้ภาษา (EL) จำนวน 33 คน ด้านการช่วยเหลือตนเองและด้านสังคม (PS) จำนวน 16 คน เด็กรอการติดตาม/ติดตามไม่ได้ จำนวน 814 คน วิเคราะห์ประเมินเด็กสงสัยล่าช้าต้องได้รับการส่งเสริม/กระตุ้นภายใน 1 เดือน เด็กที่อายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน พัฒนาการสมวัย จำนวน 10,905 คน (ร้อยละ 91.36)

สรุป: ประเมินช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการช่วยให้เด็กมีทักษะดีขึ้นตามวัย ครอบครัวเข้มแข็งประเทศชาติลดค่าใช้จ่ายจัดการศึกษาพิเศษ สามารถนำผลการศึกษาประยุกต์ใช้ในเขตสุขภาพพื้นที่อื่นในการประเมินพัฒนาการเด็กให้มีประสิทธิภาพ

Author Biographies

Kitti Kanpirom, M.D., สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ว.ว. ศัลยศาสตร์

ว.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน

Puangpaka Masena, Ph.D., สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)

References

1. กรมอนามัย. สำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี). นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

2. กรมอนามัย. สำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี). นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

3. Heckman JJ, Moon SH, Pinto R, et al. The rate of return to the Perry Preschool program. J Public Econ 2010;94(1-2):114-28.

4. กรมอนามัย. รายละเอียดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมอนามัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

5. กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Develop mental Surveillance and Promotion Manual: DSPM). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

6. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง (Development Assessment For Intervention Manual : DAIM). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

7. กรมสุขภาพจิต. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention : TEDA4I). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

8. กรมสุขภาพจิต. การพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

9. กรมสุขภาพจิต. การพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

10. Gallahue DL, Ozmu JC. Understanding motor development infants, children, adolescents, adults. New York: McGraw – Hill; 1998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-26