ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Ninlawan Suppanaray, B.N.S.
  • Kamon Phoyen, Ed.D. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • Somsap Sookanan, Ph.D. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • Nongnuch Wongsawang, Ph.D. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์, ก่อนถึงโรงพยาบาล, การมีจิตอาสา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1. ศึกษาระดับการปฏิบัติการฉุกเฉิน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความผูกพันต่อชุมชน การมีจิตอาสาและแรงสนับสนุนทางสังคม 2. เปรียบเทียบการปฏิบัติการฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์จังหวัดราชบุรี กับปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายผลการปฏิบัติการฉุกเฉิน

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี จำนวน 239 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) ให้ได้กลุ่มตัวอย่างตามที่กำหนด เก็บข้อมูลช่วง เดือนมกราคม – สิงหาคม 2559 ใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบสมมติฐาน และการใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา: 1. ระดับการปฏิบัติการฉุกเฉิน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความผูกพันต่อชุมชน การมีจิตอาสาและแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับมาก 2. ระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และอาชีพต่างกัน ส่งผลการปฏิบัติการฉุกเฉินแตกต่างกัน (p<.05) 3. การมีจิตอาสา และความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถร่วมทำนายการปฏิบัติการฉุกเฉินได้ร้อยละ 57.9 (p<.01)

สรุป: ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ 1-5 ปี มีการปฏิบัติการฉุกเฉินได้ดีกว่ากลุ่มที่ปฏิบัติงานมากกว่า 5 ปี ดังนั้นจึงควรจัดโปรแกรมเสริมให้แก่กลุ่มที่ปฏิบัติงานนานกว่า 5 ปี สำหรับอาสาสมัครอาชีพรับจ้าง มีการปฏิบัติการฉุกเฉินได้ดีกว่ากลุ่มเกษตรกรรม ดังนั้นควรมีการจัดการอบรม และการส่งเสริมการมีจิตอาสาความภาคภูมิใจในตนเอง และความผูกพันต่อชุมชน ควรบูรณาการเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ควรศึกษาหาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม

Author Biography

Ninlawan Suppanaray, B.N.S.

ศศ.ม. จิตวิทยาชุมชน

References

1. องค์การอนามัยโลก. ไทยติดอันดับ 2 ตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากสุดในโลก. เจาะลึกระบบสุขภาพ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก URL: www.hfocus.org/content/2014/04/6851

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติอุบัติเหตุจราจร. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก URL: www.nso.go.th.

3. ไชยพร ยุกเซ็น และคณะ. คู่มือดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ. กรุงเทพฯ: ช่อระกาการพิมพ์; 2556.

4. National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT). PHTLS: Prehospital trauma life support. 8th ed. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning; 2014.

5. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2557. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2557.

6. Bandura A. Social learning theory. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall; 1977.

7. ภูสิทธิ์ ขันติกุล. รูปแบบความผูกพันของประชาชนต่อชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2552.

8. ณัฐณิชากร ศรีบริบูลย์. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

9. Caplan G. Support systems and community mental health: lectures on concept development. New York: Behavioral Publicatiems; 1974.

10. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี. เอกสารรายงานสรปุ งาน EMS ปี 2559. ราชบุรี: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี; 2559.

11. Yamane T. Statistics an Introductory Analysis. New York: Harper & Row; 1973.

12. สุรพงษ์ คงสัตย์, ธีรชาติ ธรรมวงค์. การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.mcu.ac.th.

13. Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951;6;297-334.

14. พระมหาจันทร์ธรรม อินทรีเกิด. ความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะ และสถานการณ์ทางสังคมกับประสิทธิภาพการทำงานของอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 2553;2:55-64.

15. เทียรพชร พิมพ์ขุมเหล็ก. แนวคิดธรรม 4 ประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยกู้ภัยมูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์ จังหวัดชลบุรี. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 2553;1(1):1-12.

16. เยาวภา พูลพิพัฒน์. รายงานการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย : กรณีศึกษาอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย; 2557.

17. ธนพัชร สมใจ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีมกับประสิทธิผลของทีมกู้ชีพโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

18. ศีขรเชษฐ์ ใบสมุทร. บทบาทเครือข่ายของเจ้าหน้าที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กรุงเทพมหานคร ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุจราจรทางบก [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2552.

19. อัมพวัน ประดับศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ การรับรู้บทบาท และการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรทางบกเบื้องต้นของอาสาสมัครกู้ภัย จังหวัดอุบลราชธานี [ค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2550.

20. อภิชัย จติพรวาที. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติ จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. อยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2557.

21. ธนากร มูลพงศ์ และคณะ. แรงจูงใจในการบริการสาธารณะในฐานะตัวแปรทำนายพฤติกรรมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่น และพฤติกรรมสุภาพอ่อนน้อมของนักศึกษาไทย: การทดสอบอิทธิพลของการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในฐานะตัวแปรแทรก. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก URL:http://www.pol.ubu.ac.th/article/member/validator.

22. Maslow AH. Motivation and personality. New York: Harper and Row Publishers; 1970.

23. ทัศพร ชูศักดิ. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พื้นที่สาธารณสุขเขต 18 [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-28