การเปรียบเทียบผลการทำ Fine Needle Capillary กับ Fine Needle Aspiration ในการวินิจฉัยก้อนที่อวัยวะ

ผู้แต่ง

  • Tanacheth Kungsapatkul, M.D. แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การเจาะดูดด้วยเข็มเล็ก, การเจาะด้วยเข็มเล็กแบบไม่ดูด, การวินิจฉัยก้อนที่อวัยวะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้เทคนิคการเจาะด้วยเข็มเล็กแบบไม่ดูด (fine needle capillary; FNC) กับการเจาะดูดด้วยเข็มเล็ก (fine needle aspiration; FNA) ในการวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่มีปัญหาก้อนที่อวัยวะต่างๆ โดยเน้นก้อนเต้านมและไทรอยด์ ซึ่งโดยเทคนิค FNC จะให้ความรู้สึกถึงลักษณะของก้อนในขณะแทงดีกว่า จึงสามารถบังคับและกำหนดความลึก ทิศทางในการแทงได้ดีกว่า และมีการปนเปื้อนของเลือดน้อยกว่า FNA แต่ยังมีข้อโต้แย้งถึงความพอเพียงของเนื้อเยื่อในการทำ FNC ว่าจะเพียงพอหรือไม่เมื่อเทียบกับวิธี FNA ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน

วัสดุและวิธีการศึกษา: งานวิจัยครั้งนี้ใช้การเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไปข้างหน้า จำนวน 115 คน ทำการศึกษาระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 30 พฤษภาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ chi-square

ผลการศึกษา: พบว่า FNC ความพอเพียงของเนื้อเยื่อไม่พบผลไม่น่าพอใจ ส่วน FNA มีผลไม่น่าพอใจ 4 ราย (ร้อยละ 7) ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อศึกษาโดยเฉพาะก้อนที่เล็กกว่า 1 เซนติเมตร พบว่า FNC ไม่พบผลไม่น่าพอใจจาก 18 ราย ส่วน FNA มีถึง 4 ราย จาก 10 ราย ซึ่งผลไม่น่าพอใจในด้านความพอเพียงของเนื้อเยื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวินิจฉัยไม่พบความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม

สรุป: การทำ FNC เปรียบเทียบกับ FNA ในการศึกษานี้ให้ผลในด้านความเพียงพอของชิ้นเนื้อดีกว่า โดยเฉพาะก้อนที่เล็กกว่า 1 เซนติเมตร แต่ไม่พบความแตกต่างในก้อนที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร จึงแนะนำให้เลือกใช้การทำ FNC ในก้อนเนื้อขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร

Author Biography

Tanacheth Kungsapatkul, M.D., แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ว.ว. ศัลยศาสตร์ทั่วไป

อ.ว. ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ

References

1. อาคม ชัยวีระวัฒนะ และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: พรทรัพย์การพิมพ์; 2560.

2. Brunicardi FC, Andersen DK, Billiar TR, et al., editors. Schwartz’s principles of surgery. 9th ed. New York: McGraw Hill; 2010.

3. พรชัย โอเจริญรัตน์ และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์ศีรษะ คอและเต้านม. เล่ม 8. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

4. Akhtar M, Ali MA, Huq M, et al. Fine-needle biopsy: comparison of cellular yield with and without aspiration. DiagnCytopathol.1989;5(2):162-5.

5. Zajdela A, Zillhardt P, Voillemot N. Cytological diagnosis by fine needle sampling without aspiration. Cancer. 1987;59(6):1201-5.

6. Rizvi SA, Husain M, Khan S, et al. A comparative study of fine needle aspiration cytology versus non-aspiration technique in thyroid lesions. Surgeon. 2005;3(4):273-6.

7. Kinney TB, Lee MJ, Filomena CA, et al. Fine needle biopsy: prospective comparison of aspiration versus nonaspiration techniques in the abdomen. Radiology. 1993;186(2):549-52.

8. Hopper KD, Abendroth CS, Sturtz KW, et al. Fine-needle aspiration biopsy for cytopathologic analysis: utility of syringe handles, automated guns, and the nonsuction method. Radiology. 1992;185(3):819-24.

9. Akhtar SS, Imran-Ul-Huq, Faiz-U-Din M, et al. Efficacy of fine-needle capillary biopsy in the assessment of patients with superficial lymphadenopathy. Cancer. 1997;81(5):277-80.

10. Mahajan P, Sharma PR. Fine-needle aspiration versus non aspiration technique of cytodiagnosis in Thyroid lesions. JK Science. 2010;12(3):120-2.

11. Tauro LF, Lobo GJ, Fernandes H, et al. A Comparative Study on Fine Needle Aspiration Cytology versus Fine Needle Capillary Cytology in Thyroid Nodules. Oman Med J. 2012;27(2):151-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-28