ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์

ผู้แต่ง

  • Fuangsiri Thodamrong, M.D. โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บที่ศีรษะ, อุบัติเหตุจักรยานยนต์, ความรุนแรงของการบาดเจ็บ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบ อุบัติเหตุจักรยานยนต์

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลังจากรายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่ศีรษะ ของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ ณ โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ในปีงบประมาณ 2559 นำเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่และค่าร้อยละ เปรียบเทียบสัดส่วนความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มบาดเจ็บระดับปานกลาง-รุนแรงกับกลุ่มบาดเจ็บระดับเล็กน้อย ด้วยการวิเคราะห์ multiple logistic regression วิธี forward และการประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% CI)

ผลการศึกษา: ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทั้งสิ้น 1,482 ราย เป็นเพศชาย 874 ราย (ร้อยละ 59.0) อายุ 20 ปีขึ้นไป 970 ราย (ร้อยละ 65.5) เป็นผู้ขับขี่ 1,220 ราย (ร้อยละ 82.3) ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ 882 ราย (ร้อยละ 59.5) ดื่มแอลกอฮอล์ 919 ราย (ร้อยละ 62.0) เพศชายบาดเจ็บระดับปานกลาง-รุนแรงมากกว่าระดับเล็กน้อย 4.14 เท่า (OR = 4.14, 95% CI = 1.59-10.75) ผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่บาดเจ็บระดับปานกลาง-รุนแรงมากกว่าระดับเล็กน้อย 11.26 เท่า (OR = 11.26, 95% CI = 2.69-47.15) และผู้ดื่มแอลกอฮอล์บาดเจ็บระดับปานกลาง-รุนแรงมากกว่าระดับเล็กน้อย 6.52 เท่า (OR = 6.52, 95% CI = 1.98-21.42) ส่วนอายุ ประเภทผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และกลไกการเกิดการบาดเจ็บไม่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ

สรุป: เพศและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถจักรยานยนต์เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ จึงควรกวดขันและตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรอย่างเข้มงวด จริงจัง และสม่ำเสมอทั้งเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์และการไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่เพื่อสร้างวินัยให้ผู้ขับขี่ ทำให้ลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ ตลอดจนลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจและสังคม

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

2. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข. สาเหตุหลักของการสูญเสียปีสุขภาวะในแต่ละกลุ่มอายุ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

3. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุม โรคกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2558.

4. ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดเพชรบุรี. การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน [อินเทอร์เน็ต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phetchaburi.go.th/data/km_pp54.pdf

5. Teasdale G, Jennett B. Assessment of coma and impaired consciousness. A practical scale. Lancet. 1974;2(7872):81–4.

6. นัชรัศม์ ชูหิรัญญ์วัฒน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร ของ
ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ภายในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา 2555. [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ป.] [เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/4310/2/fulltext.pdf

7. ชัชวาล จันทะเพชร. การศึกษาลักษณะของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางจราจร 2551. โรงพยาบาลภูมิพล [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ป.] [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.taem.or.th/node/129

8. Guerrero JL, Thurman DJ, Sniezek JE. Emergency department visits associated with traumatic brain injury: United States, 1995-1996. Brain Inj. 2000;14(2):181-6.

9. Wu X, Hu J, Zhuo L, et al. Epidemiology of traumatic brain injury in eastern China, 2004: a prospective large case study. J Trauma. 2008;64(5):1313-9.

10. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาทางระบาดวิทยา การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน ในผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และการทบทวนมาตรการเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2559;47(25):385-89.

11. กาญจน์กรอง สุอังคะ. การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่น ที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5898/2/Fulltext.pdf

12. ธิดา ธรรมรักษา, บุบผา ลาภทวี, อมรพล กันเลิศ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการบาดเจ็บในผู้ประสบอุบัติเหตุจราจร ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2559;1(1):13-25.

13. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ลักษณะการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้รถจักรยานยนต์ในเด็กและเยาวชนไทย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน–31 กรกฎาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2559;47(14):209-16.

14. ภาวิณี เทพคำราม. ดื่มสุรามากสมองเสื่อม. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/23623-ดื่มสุรามาก%20สมองเสื่อม.html

15. Ding Q, Wang Z, Shen M, et al. Acute alcohol exposure and risk of mortality of patients with traumatic brain injury: A systematic review and meta-analysis. Alcohol Clin Exp Res. 2017:10.1111/acer.13436.

16. Leitgeb J, Mauritz W, Brazinova A, et al. Effects of gender on outcomes after traumatic brain injury. J Trauma. 2011;71(6):1620-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-28