ผลของปริทันต์บำบัดแบบไม่ผ่าตัดต่อค่าน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • Surawadee Wadeerat, D.D.S. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยพลู จังหวัดนครปฐม
  • Chanapong Rojanaworarit, D.D.S., M.P.H., Ph.D. ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, โรคปริทันต์อักเสบ, ค่าน้ำตาลสะสม, ระบาดวิทยาโรคช่องปาก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อระบุอิทธิพลการรักษาโรคปริทันต์อักเสบต่อค่าน้ำตาลสะสม (Hemoglobin A1C; HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ใช้รูปแบบการเก็บข้อมูลจากเหตุไปหาผลซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วในอดีต (retrospective cohort data collection approach) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 220 คน ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่ขึ้นทะเบียนกับคลินิกเบาหวานและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ณ โรงพยาบาลห้วยพลู จังหวัดนครปฐม จำแนกผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มศึกษาที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบโดยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบใดๆ ผลลัพธ์ทางคลินิกที่สนใจคือ ค่าน้ำตาลสะสมที่ตรวจประเมินทุกปีระหว่างปีงบประมาณ 2553-2559 ตัวแปรที่พิจารณาเป็นตัวแปรกวนตามบริบททางคลินิกนี้คือ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย โรคร่วม (โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง) การรักษาเบาหวานด้วยยากิน การรักษาเบาหวานด้วยการฉีดอินซูลิน ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ความรุนแรงของโรคปริทันต์ และการสูบบุหรี่ การระบุอิทธิพลของการรักษาโรคปริทันต์อักเสบต่อค่าน้ำตาลสะสมใช้การวิเคราะห์โดยสถิติ multilevel mixed-effects linear regression

ผลการศึกษา: ในปี พ.ศ. 2553 (ปีเริ่มต้นศึกษา) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมร้อยละ 7.89 ซึ่งน้อยกว่าค่าในกลุ่มเปรียบเทียบ (ร้อยละ 7.93) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.906) จากแบบจำลองพหุปัจจัย (multivariable model) ที่ควบคุมอิทธิพลของปัจจัยเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย โรคร่วม (โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง) การรักษาเบาหวานด้วยยากิน การรักษาเบาหวานด้วยการฉีดอินซูลิน ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ความรุนแรงของโรคปริทันต์ และการสูบบุหรี่ พบว่าเมื่อติดตามไปตลอดระยะเวลาศึกษา กลุ่มเปรียบเทียบจะมีค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมลดลงรายปีร้อยละ 0.2 ในขณะที่กลุ่มศึกษาจะลดลงน้อยกว่าคือร้อยละ 0.1 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.094) ส่วน random effect model ระบุว่าการรักษาโรคปริทันต์อักเสบมีผลต่อค่าน้ำตาลสะสมแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล (p<0.001)

ข้อสรุป: ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ มีค่าลดลงไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบในบริบทบริการนี้ โดยผลการรักษาโรคปริทันต์อักเสบต่อค่าน้ำตาลสะสมแตกต่างไปตามบุคคล

References

1. Mediratta S. Guidelinesfor periodontal therapy-a review. Annals of Dental Specialty. 2014;2:91-4.

2. Llambes F, Arias-Herrera S, Caffesse R. Relationship between diabetes and periodontal infection. World J Diabetes. 2015;6:927-35.

3. Marín-Penalver JJ, Martín-Timon I, Sevillano-Collantes C, et al. Update on the treatment of type 2 diabetes mellitus. World J Diabetes. 2016;7:354-95.

4. American Diabetes Association. Diagnosis and classification of diabetesmellitus. Diabetes Care. 2013;36 Suppl 1:S67-74.

5. Gesko DS, Rush WA, Durand EU. The oral-systemic link: an opportunity for collaboration. Diabetes Spectrum. 2011;24:187-9.

6. Jimenez M, Hu FB, Marino M, et al. Type 2 diabetes mellitus and 20 year incidence of periodontitis and tooth loss. Diabetes Res Clin Pract. 2012;98:494-500.

7. Preshaw PM, Alba AL, Herrera D, et al. Periodontitis and diabetes: a two-way relationship. Diabetologia. 2012;55:21-31.

8. Chapple IL, Genco R. Working group 2 of joint EFP/AAP workshop. Diabetes and periodontal diseases: consensus report of the Joint EFP/AAP Workshop on Periodontitis and Systemic Diseases. J ClinPeriodontol. 2013;40 Suppl 14:S106–12.

9. Gay IC, Tran DT, Cavender AC, et al. The effect of periodontal therapy on glycaemic control in a Hispanic population with type 2 diabetes: a randomized controlled trial. J ClinPeriodontol. 2014;41:673-80.

10. Engebretson SP, Hyman LG, Michalowicz BS, et al. The effect of nonsurgical periodontal therapy on hemoglobin A1c levels in persons with type 2 diabetes and chronic periodontitis: a randomized clinical trial. JAMA. 2013;310:2523-32.

11. Teeuw WJ, Gerdes VEA, Loos BG. Effect of periodontal treatment on glycemic control of diabetic patients: a systematic review and meta-analysis. Diabetes Care. 2010;33:421-7.

12. Koromantzos PA, Makrilakis K, Dereka X, et al. A randomized, controlled trial on the effect of non-surgical periodontal therapy in patients with type2 diabetes. Part I: effect on periodontal status and glycaemic control. J Clin Periodontol. 2011;38:142–7.

13. Chen L, Luo G, Xuan D, et al. Effects of nonsurgical periodontal treatment on clinical response, serum inflammatory parameters, and metabolic control in patients with type 2 diabetes: a randomized study. J Periodontol. 2012;83:435–43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-28