การศึกษาผลของการใช้แนวทางการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาลโพธาราม
คำสำคัญ:
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์, นำเส้นทาง, ความพึงพอใจ, แผนที่บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้แนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดที่ได้พัฒนาและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลโพธาราม
วิธีการศึกษา: การศึกษากึ่งทดลอง แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยซึ่งไม่ใช้แนวทางป้องกันระหว่างเดือนตุลาคม 2557 - กันยายน 2558 จำนวน 1,614 คน และเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วย 1,548 คน ที่มารับการผ่าตัดและบริการทางวิสัญญีระหว่างเดือนตุลาคม 2558 – กันยายน 2559 ซึ่งได้รับการประเมินความเสี่ยง ป้องกันและรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดตามแนวทางที่ได้มีการพัฒนาขึ้น บันทึกและเปรียบเทียบอุบัติการณ์ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดระหว่างกลุ่มที่ไม่ใช้และใช้แนวทางป้องกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบทดสอบไคสแควร์และวิเคราะห์หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยการวิเคราะห์เชิงถดถอยโลจิสติกพหุนาม
ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มที่ไม่ใช้แนวทางป้องกัน ร้อยละ 6.32 และกลุ่มที่ใช้แนวทางป้องกัน ร้อยละ 4.52 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p = 0.026) และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดคือ เพศหญิง (อัตราส่วนแต้มต่อปรับแล้ว 2.28, ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 1.23, 4.23, p = 0.01) การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี ผ่าตัดทางนรีเวช (อัตราส่วนแต้มต่อปรับแล้ว 2.39 ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 1.19, 4.83, p = 0.014)
สรุป: แนวทางการป้องกันและรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดที่พัฒนามาใช้ในโรงพยาบาลโพธาราม สามารถลดการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพศหญิงและการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี ผ่าตัดทางนรีเวช เพิ่มโอกาสเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด
References
2. Apfel CC, Koivuranta M, Greim CA, et al. A simplified risk score for predicting postoperative nausea and vomiting: conclusions from cross-validations between two centers. Anesthesiology 1999;91:693–700.
3. Koivuranta M, Alahuhta S. A survey of postoperative nausea and vomiting. Anaesthesia 1997;52:443–9.
4. Sinclair DR, Chung F, Mezei G. Can postoperative nausea and vomiting be predicted? Anesthesiology 1999;91:109–18.
5. Fortier J, Chung F, Su J. Unanticipated admission after ambulatory surgery–a prospective study. Can J Anaesth 1998;45:612–9.
6. Gold BS, Kitz DS, Lecky JH, et al. Unanticipated admission to the hospital following ambulatory surgery. JAMA 1989;262:3008–10.
7. Hill RP, Lubarsky DA, Phillips-Bute B, et al. Cost-effectiveness of prophylactic antiemetic therapy with ondansetron, droperidol, or placebo. Anesthesiology 2000;92:958–67.
8. Tramer MR. Strategies for postoperative nausea and vomiting. Best Pract Res Clin Anaesthesiol 2004;18:693–701.
9. สุวิชา ลิ้มกิจเจริญภรณ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายด้วย Antiemetic ก่อนเสร็จสิ้นการผ่าตัด แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลโพธาราม. วารสารวิจัย R2R 2555;4:50-4.
10. Apfel CC, Heidrich FM, Jukar-Rao S, et al. Evidence-based analysis of risk factors for postoperative nausea and vomiting. Br J Anaesth 2012;109:742–53.
11. Apfel CC, Philip BK, Cakmakkaya OS, et al. Who is at risk for postdischarge nausea and vomiting after ambulatory surgery?. Anesthesiology 2012;117:475–86.
12. Apfel CC, Kranke P, Katz MH, et al. Volatile anaesthetics may be the main cause of early but not delayed postoperative vomiting: a randomized controlled trial of factorial design. Br J Anaesth 2002;88:659–68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์