การติดตามผลการใส่ฟันเทียมทั้งปากของผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทานโรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม : 3-5 ปี ภายหลังการรักษา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามผลการใส่ฟันเทียมทั้งปากโดยการประเมินสภาพฟันเทียม เนื้อเยื่อในช่องปากของผู้สูงอายุ ภายหลังใส่ฟันเทียมทั้งปากมาแล้วเป็นเวลา 3-5 ปี ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีประชากรเป็นผู้สูงอายุ จากบันทึกเวชระเบียนทันตกรรม ทั้งหมด 78 คน ที่ได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน จากโรงพยาบาลพุทธมณฑล ระหว่าง ปี พ.ศ. 2554-2556 เกณฑ์การคัดเข้า คือ ผู้สูงอายุทั้งหมดที่ได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปากจากโรงพยาบาล ระหว่าง ปี พ.ศ. 2554 - 2556 จำนวน 42 คน เกณฑ์การคัดออก คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถติดต่อได้ ย้ายภูมิลำเนา ป่วยหนัก เสียชีวิต และผู้ที่เลิกใส่ฟันเทียม จำนวน 36 คน การเก็บข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสภาพฟันเทียมโดยเจ้าหน้าที่ และเป็นการประเมินจากแบบประเมินสภาพฟันเทียมและเนื้อเยื่อในช่องปาก โดยทันตแพทย์ผู้ตรวจรักษา
ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุตามเกณฑ์การคัดเข้าที่มารับการตรวจติดตามผลการรักษาหลังจากได้รับการใส่ฟันเทียมทั้งปากมาแล้วเป็นเวลา 3-5 ปี มีจำนวน 42 คน อายุเฉลี่ย (±S.D.) 73 ± 8.7 ปี พบว่าส่วนใหญ่ พึงพอใจในความแน่นกระชับ ความสวยงามของฟันเทียม และสามารถใช้ฟันเทียมเคี้ยวอาหารได้ดี ผู้สูงอายุถอดฟันเทียมเวลากลางคืน ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ร้อยละ 97.62 สำหรับการตรวจทางคลินิก พบว่า ฟันเทียมบนมีการยึดอยู่ที่ดี ร้อยละ 83.33 ส่วนฟันเทียมล่างมีการยึดอยู่ที่ดี ร้อยละ 21.43 พบการอักเสบของเนื้อเยื่อในช่องปาก ร้อยละ 7.14 อีกทั้งพบว่าร้อยละ 76.19 ของผู้สูงอายุควรได้รับการแก้ไขหรือซ่อมฟันเทียม เสริมฐานฟันเทียม หรือทำฟันเทียมชุดใหม่ และพบว่าผู้สูงอายุ ร้อยละ 71.43 ไม่เคยมาพบทันตแพทย์หลังใส่ฟันเทียมไปแล้ว
References
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
3. บังอร กล่ำสุวรรณ์, ปิยนุช เอกก้านตรง. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อโครงการฟันเทียมพระราชทาน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 และ 12. ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 6; 2552.
4. ดวงพร ศิริเทพมนตรี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุหลังใส่ฟันเทียมพระราชทาน. วชิรเวชสาร 2552;1:39-47.
5. Roessier DM. Complete denture success for patients and dentists. Int Dent J 2003;53(5 Suppl):340-5.
6. Bergman B, Carlsson GE. Clinical long-term study of complete denture wearers. J Prosthet Dent 1985;53:56-61.
7. Bihan H, Geckli O, Ergin S, et al. Evaluation of satisfaction and complications in patients with existing complete dentures. J Oral Sci 2013;55(1):29-37.
8. Magnusson T. Clinical judgement and patients’ evaluation of complete dentures five years after treatment : A follow-up study. Swed Dent J 1986;10:29-35.
9. Takamiya AS, Monteiro DR, Marra J, et al. Complete denture wearing and fractures among edentulous patients treated in university clinics. Gerodontology 2012;29(2):728-34.
10. พจมาน ศรีนวรัตน์, เพ็ญประภา ฤชุวรารักษ์. การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยใส่ฟันปลอมทั้งปาก : 3-5 ปี ภายหลังการรักษา. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล 2540;17:61-8.
11. Jeganathan S, Payne JA. Common faults in complete dentures: a review. Quintessence Int 1993;24(7):483-7.
12. พิมพ์วิภา เศรษฐวรพันธ์, ทรงชัย ฐิติโสมกุล, ไพฑูรย์ ดาวสดใส. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากและความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปแบบภาษาไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2557;64(3):26-46.
13. ศิริพร ศรีบัวทอง. การติดตามผลการใช้งานฟันเทียม เมื่อเวลา 5 ปี ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน : กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2558;34(1):80-91.
14. สุปราณี ดาโลดม และคนอื่นๆ. การประเมินผลโครงการฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2550. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551;13(5):70-83.
15. ยุพิน ส่งไพศาล. ความพึงพอใจและผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไร้ฟันหลังการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน ที่โรงพยาบาลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2550;30(3):34-45.
16. Diehl RL, Foerster U, Sposetti VJ, et al. Factors associated with successful denture therapy. J Prosthodont 1996;5:84-90..
17. Yoshida M, Sato Y, Akagawa Y, et al. Correlation between quality of life and denture satisfaction in elderly complete denture wearers. Int J prosthodont 2001;14(1):77-80.
18. Osterberg T, Hedegard B, Sater G. Variation in dental health in 70 - year old men and women in Goteborg, Sweden: A cross - sectional epidemiological study including longitudinal and cohort effects. Swed Dent J 1984;8:29-48.
19. Linuma T, Arai Y, Abe Y, et al. Denture wearing during sleep doubles the risk of pneumonia in the very elderly. J Dent Res 2015;94(3 Suppl):28S-36S.
20. Fenlon MR, Sherriff M. Investigation of new complete denture quality and paitents’ satisfaction with and use of denture after two years. J Dent 2004;32:327-33.
21. Van Waas MA. The influence of clinical variables on patients’ satisfaction with complete dentures. J Prosthet Dent 1990;63:307-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์