การศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกชนิดออสตีโอซาร์โคมาบริเวณรอบเข่า

ผู้แต่ง

  • Banjobe Ariyaboonsiri, M.D. กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : การรักษาโรค osteosarcoma ในอดีตการรักษามาตรฐาน คือ การตัดขา (amputation) ในปัจจุบันมีการพัฒนาเรื่องเทคนิคการผ่าตัดและเคมีบำบัด ทำให้การรักษามีทั้งการตัดขา (amputation) และการตัดเนื้องอกโดยไม่ต้องตัดขา (limb salvage) ซึ่งให้ผลการรักษาที่ใกล้เคียงกัน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเลือกการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูก osteosarcoma รอบเข่า

วิธีการศึกษา : รูปแบบตัดขวางและเปรียบเทียบ (comparative cross sectional study)

ระเบียบวิธีการวิจัย : งานวิจัยใช้กลุ่มผู้ป่วย osteosarcoma ในโรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึง 2555 ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 48 คน โดยศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกการรักษา คือ เพศ อายุ ลักษณะความรุนแรงของเนื้องอก (tumor grade) การตายของเนื้องอกหลังการได้รับเคมีบำบัด ตำแหน่งของเนื้องอก และ pathological fracture

ผลการศึกษา : พบปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับการตัดขา (amputation) ที่มีนัยสำคัญ คือ อายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป ลักษณะความรุนแรงของเนื้องอกสูง (high grade) และ pathological fracture โดยมี relative risk คือ 1.82, 4.25 และ 3.7 ตามลำดับ

Author Biography

Banjobe Ariyaboonsiri, M.D., กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร

ว.ว. ออร์โธปิดิกส์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-14