การศึกษาภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • Rawiwan Weerawong, M.D. กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ในด้านข้อมูลทั่วไป เพศ อายุ อาการร่วม ระดับการสูญเสียการได้ยิน รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรคและการฟื้นตัวของการได้ยินหลังได้รับการรักษา

วิธีการศึกษา: การศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่นำมาศึกษา 273 ราย พบว่าเป็นเพศชาย 109 ราย (ร้อยละ 39.93) เพศหญิง 164 ราย (ร้อยละ 60.07) อายุผู้ป่วยเฉลี่ย 50.05 ปี พบมีประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันในหูข้างเดียวร้อยละ 77.29 อาการที่พบร่วมกับประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน ร้อยละ 40.66 มีเสียงดังในหู ร้อยละ 6.59 มีอาการ เวียนศีรษะบ้านหมุน และจากการตรวจการได้ยินแรกรับ (audiogram) พบว่ามีระดับหูตึงเล็กน้อย ร้อยละ 16.48 หูตึงปานกลาง ร้อยละ 32.97 หูตึงมาก ร้อยละ 19.78 หูหนวก ร้อยละ 30.77 ผลการศึกษาพบว่าหลังการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ ผู้ป่วยมีการได้ยินดีขึ้นร้อยละ 58.61 เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการได้ยินดีขึ้น กับกลุ่มที่ไม่ดีขึ้นพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ อายุของผู้ป่วย

สรุป: การรักษาผู้ป่วยภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันด้วยยาสเตียรอยด์ ทำให้มีการได้ยินดีขึ้นร้อยละ 58.61 และปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรคคืออายุของผู้ป่วย

Author Biography

Rawiwan Weerawong, M.D., กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

ว.ว. โสต ศอ นาสิกวิทยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-14