การปรับขนาดยาฉีดเบซัลอินซูลินด้วยตนเองอย่างง่ายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับประทานยาลดน้ำตาลในขนาดสูงแต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมาย การเริ่มยาฉีดเบซัลอินซูลิน ร่วมกับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและผู้ป่วยที่ได้รับการสอนให้ปรับขนาดยาฉีดเบซัลอินซูลินด้วยตนเอง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการเริ่มยาฉีดเบซัลอินซูลินร่วมกับการปรับขนาดยาฉีดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการใช้ยารับประทาน
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มาตรวจที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 จนถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2558 และใบบันทึกผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 90ราย ที่่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลได้ โดยร้อยละ70 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.2 ± 10.2 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานก่อนได้รับยาฉีดอินซูลินเฉลี่ย 8.8 ± 4.8 ปี ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดที่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับคือ Sulfonylurea ร่วมกับ Metformin (ร้อยละ 46.7) ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ลดลงจากร้อยละ 9.2 ± 1.2 เหลือ 8.0 ± 1.2 และ 7.8 ± 1.3 ที่ เดือนที่ 3 และ 6 ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการศึกษามีผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมเป้าหมายน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7 จำนวน 18 คน (ร้อยละ 20) โดยขนาดยาฉีดอินซูลินเพิ่มขึ้นจากขนาดเฉลี่ยเริ่มต้น 7.9 ± 1.6 ยูนิตต่อวันไปเป็น 15.2 ยูนิต
ต่อวัน ที่ เดือนที่ 6ในขณะที่น้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 71.5 ± 15.0 กิโลกรัม เป็น 72.5 ± 10.5 กิโลกรัม ผู้ป่วยให้ความร่วมมือดีในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ ว (ร้อยละ 96.0) ผลการตรวจพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังได้รับยาฉีดอินซูลินอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดถึง 1,222 ครั้ง (ร้อยละ 61.5) ผลข้างเคียง ที่พบคือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดที่เป็นเพียงเล็กน้อยมีรายงานเพียง 61 ครั้ง และไม่พบรายงานภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรง
สรปุ : การเริ่มยาฉีดเบซัลอินซูลินก่อนนอนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้แม้จะรับประทานยาลดน้ำตาลในขนาดสูง ร่วมกับการกำหนดให้ผู้ป่วยตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และปรับขนาดยาฉีดอินซูลินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถให้ละระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจนและไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์