การคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดวิกฤตในทารกแรกเกิด ของโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Jariya Yongpradit, M.D. ว.ว. กุมารเวชกรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวางแนวทางในการตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดวิกฤตในทารก แรกเกิดของโรงพยาบาลสามพราน และวางแนวทางการดูแลรักษา ส่งตัวเพื่อรักษาต่อในโรงพยาบาลศูนย์หรือ โรงเรียนแพทย์ ร่วมกับศึกษาอุบัติการณ์ (incidence) ของโรคและประสิทธิภาพของการคัดกรองโดยใช้เครื่องมือ pulse oximeter ร่วมกับการตรวจร่างกาย

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าในทารกแรกเกิดที่มารดามาคลอดที่โรงพยาบาลสามพรานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทารกได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์และคัดกรองโดยใช้เครื่อง pulse oximeter ชนิด Radical Masimo® วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนที่มือขวาและเท้าข้างใดก็ได้ ที่อายุมากกว่า 24 ชั่วโมง หากผลคัดกรองเป็นบวกคือ วัดออกซิเจนได้ค่าน้อยกว่า 90% หรือวัดได้ 90- 95% โดยวัด 3 ครั้ง ห่างกัน 1 ชั่วโมง หรือค่าที่ต่างกันระหว่างมือขวากับเท้ามากกว่า 3% โดยวัด 3 ครั้งห่างกัน 1 ชั่วโมง จะส่งตัวผู้ป่วยไปทำ echocardiogram เพื่อยืนยันและวางแผนการรักษา หากผลคัดกรองเป็นลบจะให้ใบคำแนะนำสังเกตอาการที่เกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดวิกฤต และ
มีการติดตามอาการหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลที่อายุ 1-2 เดือน

ผลการศึกษา: คัดกรองทารกแรกเกิดทั้งหมด 2,008 ราย พบเป็นโรค 2 ราย (ต้องสงสัย 1 ราย) มี true positive 1 ราย คือ TOF with PDA with ASD และ false negative 1 ราย คือ complex heart disease,single ventricle และผู้ป่วยต้องสงสัย 1 รายนั้น มีปัญหา cardiogenic shock ตั้งแต่อายุ 2 ชั่วโมง diffential diagnosis คือ กลุ่มโรค CCHD หรือ persistent pulmonary hypertension of the newborn (PPHN) ผู้ป่วยเสียชีวิตเมื่ออายุ 8 ชั่วโมง โดยไม่ได้ทำ echocardiogram หรือ autopsy จึงไม่สามารถสรุปสาเหตุการเสียชีวิตที่ชัดเจนได้ การศึกษานี้พบอุบัติการณ์ของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดรุนแรง 1 รายต่อ 1,000 การเกิดมีชีพการคัดกรอง pulse oximetry screening ร่วมกับการตรวจร่างกายในการศึกษานี้พบ sensitivity 50%, specificity100%, positive predictive value 100%, negative predictive value 99.9%, accuracy 99.9%

สรุป: การคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดวิกฤต โดยใช้เครื่อง pulse oximetry screening ร่วมกับการตรวจร่างกายให้ประโยชน์ในการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้ได้จำเพาะ แม่นยำ ควรส่งเสริมให้มีการทำต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้วินิจฉัยผู้ป่วยก่อนจะกลับบ้านให้ได้มากขึ้น ส่วนความไวได้เพียงร้อยละ 50 ควรมีการประเมินและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการคัดกรองต่อไป

Author Biography

Jariya Yongpradit, M.D., ว.ว. กุมารเวชกรรม

กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-18