เปรียบเทียบการใช้เข็มเจาะดูดกับการผ่าตัดในการวินิจฉัยโรควัณโรคต่อมน้ำเหลือง

ผู้แต่ง

  • Apaporn Eiamkulvorapong, M.D. กลุ่มงานโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา โรงพยาบาลสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยโรควัณโรคต่อมน้ำเหลือง ระหว่างการใช้เข็มเจาะดูดก้อน (FNAC) กับการผ่าตัด (surgical excision)

วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบ retrospective study ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยวัณโรคต่อมน้ำเหลืองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2556 โดยเปรียบเทียบผลจากการใช้เข็มเจาะดูดก้อน (FNAC) ตรวจเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) (AFB stain) และผลการตรวจทางเซลล์วิทยา กับการผ่าตัดก้อน (surgical excision) ตรวจเชื้อวัณโรค (AFB stain) และผลการตรวจทางพยาธิวิทยา

ผลการศึกษา: ได้ทำการศึกษาผู้ป่วย 49 คน ที่ได้รับการใช้เข็มเจาะก้อน (FNAC) และ 31 คน ได้รับการผ่าตัดก้อนที่คอ ในผู้ป่วย 49 คน ที่ได้รับการทำ FNAC ตรวจพบเชื้อวัณโรค (AFB stain +) 16 คน (ร้อยละ 33) ผลการตรวจทางเซลล์วิทยาพบเซลล์ที่ผิดปกติเข้าได้กับวัณโรคต่อมน้ำเหลือง 13 คน (ร้อยละ 27) และในผู้ป่วย 31 คนที่ได้รับการผ่าตัดก้อนที่คอ ตรวจพบเชื้อวัณโรค (AFB stain +) 9 คน (ร้อยละ 29) ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเข้าได้กับวัณโรคต่อมน้ำเหลือง 29 คน (ร้อยละ 94) ตามลำดับ ผู้ป่วย 23 ราย ได้รับการตรวจทั้ง FNAC และการผ่าตัด ทำการเปรียบเทียบผลตรวจ FNAC กับผลตรวจทางพยาธิวิทยา แล้วคำนวณหาค่าความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำของ FNAC ในการวินิจฉัยวัณโรคต่อมน้ำเหลือง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การทำ FNAC เพื่อวินิจฉัยวัณโรคต่อมน้ำเหลือง มีความไว ร้อยละ 28.57 ความจำเพาะร้อยละ 100 ความแม่นยำ ร้อยละ 34.78 โอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นวัณโรคต่อมน้ำเหลืองเมื่อผลตรวจเป็นบวกร้อยละ 100 โอกาสที่ผู้ป่วยจะไม่เป็นวัณโรคต่อมน้ำเหลืองเมื่อผลตรวจเป็นลบ ร้อยละ 11.76

สรุปและวิจารณ์: การใช้ FNAC ในการวินิจฉัย วัณโรคต่อมน้ำเหลืองทั้งผลการตรวจ microscopic และ cytology ได้ผลค่อนข้างต่ำ ความไวและความแม่นยำต่ำ ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน

Author Biography

Apaporn Eiamkulvorapong, M.D., กลุ่มงานโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ว.ว. โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

References

1. Perenboom RM, Richter C, Swai AB, et al. Diagnosis of tuberculous lymphadenitis in an area of HIV infection and limited diagnostic facilities. Trop Geogr Med 1994;46(5):288-92.

2. van Loenhout-Rooyackers JH, Richter C. Diagnosis and treatment of tuberlous lymphadenitis of the neck. Ned Tijdschr Geneeskd 2000;144(47):2243-7.

3. Aggarwal P, Wali JP, Singh S, et al. A clinico-bacteriological study of peripheral tuberculous lymphadenitis. J Assoc Physicians India 2001;49:808-12.

4. Nataraj G, Kurup S, Pandit A, et al. Correlation of fine needle aspiration cytology, smear and culture in tuberculous lymphadenitis:a prospective study. J Postgrad Med 2002;48(2):113-6.

5. Lakhey M, Bhatta CP, Mishra S. Diagnosis of tubercular lymphadenopathy by fine needle aspiration cytology, acid-fast staining and mantoux test. JNMA Nepal Med Assoc 2009;48(175):230-3.

6. Asimacopoulos EP, Berry M, Garfield B, et al. The diagnosis efficacy of fine-needle aspiration using cytology and culture in tuberculous lymphadenitis. Int J Tuberc Lung Dis 2010;14(1):93-8.

7. Fontanilla JM, Bornes A, von Reyn CF. Current Diagnosis and Management of Peripheral Tuberculous Lymphadenitis. Clin Infect Dis 2011;53(6):555-62.

8. Nidhi P, Sapna T, Shalini M, et al. FNAC in tuberculous lymphadenitis:Experience from a tertiary level referral centre. Indian J Tuberc 2011;58:102-7.

9. Asano S. Granulomatous lymphadenitis. J Clin Exp Hematop 2012;52(1):1-16.

10. Knox J, Lane G, Wong JS, et al. Diagnosis of tuberculous lymphadenitis using fine needle aspiration biopsy. Intern Med J 2012;42(9):1029-36.

11. Fanny ML, Beyam N, Gody JC, et al. Fine-needle aspiration for diagnosis of tuberculous lymphadenitis in children in Bangui, Central African Republic. BMC Pediatr 2012;12:191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-20