ผลสัมฤทธิ์ของสุขภาพพอเพียงภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • Wichianchai Padungkiettiwong, M.D. กลุ่มงานการแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • Nongnuch Patcharavirosakul, B.T.T.M. กลุ่มงานการแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • Kamkaew Somboon, B.N.S. กลุ่มงานการแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • Kamkaew Somboon, B.N.S. กลุ่มงานการแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • Jurairath Krutpuark, B.N.S. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ เทศบาลเมืองเพชรบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของวิถีสุขภาพพอเพียงภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านของ 2 ชุมชนต้นแบบ โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลสุขภาพพอเพียง ร่วมกับการสัมภาษณ์โดยตรง ระหว่างวันที่ 15 - 30 ธันวาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา: การปฏิบัติตามวิถีสุขภาพพอเพียงทำให้ประชาชนของทั้ง 2 ชุมชนต้นแบบ มีสุขภาพดีขึ้นร้อยละ 100 ทั้งร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม ความเจ็บป่วยทุเลาลงได้ร้อยละ 96.7 ความเจ็บป่วยหายร้อยละ 3.3 ทุกคนที่ปฏิบัติมีความพึงพอใจในวิถีสุขภาพพอเพียงในระดับดีมาก การติดตามผลในระยะเวลา 3 เดือน พบมีประชาชนเข้าร่วมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านเข้าร่วมเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.8

สรุป: วิถีสุขภาพพอเพียงเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ภายใต้หลักสมดุล องค์รวม พึ่งตนเอง สอดคล้องกับหลักการสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทย ทำให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีได้จริง

Author Biography

Wichianchai Padungkiettiwong, M.D., กลุ่มงานการแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

อ.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว

References

1. สุพิตา เริงจิต, ยุทธนา วรุณปิติกุล. ตามรอยเท้าพ่อ : เรื่องเล่าจากปฏิบัติการเรียนรู้ธรรมชาติเพื่อช่วยธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ออแกนิคบุ๊ค; 2552.

2. เกียรติกำจร กุศล. เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็ก เยาวชนและครอบครัว : ชุมชนมุสลิมบ้านท่าสูงอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 2556;6:99-100.

3. ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์. สุขภาวะองค์รวม = สุขภาพแบบพอเพียง. นนทบุรี: กลุ่มงานวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

4. ปางธาราไพร นราพงศ์พุทธ์, สัมมนา มูลสาร. การดูแลตนเองแนวเศรษฐกิจพอเพียงและภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตกรณีศึกษา: ศูนย์เรียนรู้สุขภาพแบบพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก 2554;4(2):34-47.

5. รุจา ภู่ไพบูลย์, สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และคณะ. กระบวนการพัฒนาสุขภาพพอเพียงในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555;35:28-38.

6. ลัดดา เหมาะสุวรรณ. เก่ง ดี มีสุข ด้วยโภชนาการ (ทางลัดสำหรับโรงเรียน). พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2553.

7. สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. การเรียนรู้ร่วมกันแบบมีเข็มมุ่งสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ฟ้าอภัย; 2551.

8. วิเชียรชัย ผดุงเกียรติวงษ์. Why’s Homeopathy? วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก 2554;4:4-11.

9. ประเวศ วะสี. ทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2547.

10. วิเชียรชัย ผดุงเกียรติวงษ์. วิถีทางแห่งดุลยภาพบำบัด. เพชรบุรี: เพชรภูมิ; 2550.

11. วิเชียรชัย ผดุงเกียรติวงษ์. สมาธิบำบัดแบบพระจอมเกล้า. เพชรบุรี: เพชรภูมิ; 2557.

12. ธีระ รามสูตร. การประยุกต์เวชศาสตร์ป้องกันแนวใหม่สำหรับผู้บริหารสาธารณสุข. ใน: ธีระ รามสูตร, บรรณาธิการ. การประยุกต์เวชศาสตร์ป้องกันในระบบสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล; 2549. หน้า 1-40.

13. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. วิถีทางเลือกกับการพึ่งตนเอง: ศาสนา ความเชื่อ กับการแสวงหาสุขภาวะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ; 2551.

14. ธีระ รามสูตร. สุขภาพและระบบสุขภาพไทย. ใน: ธีระ รามสูตร, บรรณาธิการ. การประยุกต์เวชศาสตร์ป้องกันในระบบสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549. หน้า 41-85.

15. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง, ราตรี ปื่นแก้ว และคณะ. วิถีชุมชน: คู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ; 2551.

16. กระทรวงสาธารณสุข. หนังสือประกอบคำบรรยายโครงการพัฒนาสาธารณสุขเพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า (โครงการ HFA). นนทบุรี: คณะกรรมการพัฒนาสาธารณสุขเพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า; 2536.

17. บุญยง เกี่ยวการค้า. การสาธารณสุขมูลฐานประยุกต์สำหรับผู้บริหารสาธารณสุข. ใน: ธีระ รามสูตร, บรรณาธิการ. การประยุกต์เวชศาสตร์ป้องกันในระบบสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549. หน้า 281-362.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-20