ผลการรักษาหลอดเลือดอุดตันในสมองด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ: เปรียบเทียบกลุ่มอายุ 80 ปี ขึ้นไปกับน้อยกว่า

ผู้แต่ง

  • Phanyarat Phankhian, M.D. กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การรักษาหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันด้วยยาละลายลิ่มเลือด rtPA ภายในระยะเวลา 4.5 ชั่วโมง เป็นมาตรฐานการรักษาปัจจุบัน อายุของผู้ป่วยที่ได้รับยาเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจนำมาพิจารณาก่อนการให้ยา การศึกษานี้ต้องการศึกษาความแตกต่างด้านผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนหลังรับการรักษา ระหว่างกลุ่มที่มีอายุมากและอายุน้อย

วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดอุดตันในสมองแบบเฉียบพลัน และได้รับยาละลายลิ่มเลือด rtPA ภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2557 จำนวน 211 ราย โดยศึกษากลุ่มที่มีอายุ > 80 ปี และกลุ่มที่มีอายุ < 80 ปี เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างกลุ่ม ข้อมูลแรกรับพื้นฐาน ปัจจัยเสี่ยง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเกิดเลือดออกตามหลังการรักษา การเสียชีวิตและติดตามการรักษาที่ 90 วันหลังรับการรักษา ประเมินโดย NIHSS score และ MRS score

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 211 ราย พบอายุ < 80 ปี (พิสัย 32 ถึง 79) 184 ราย (ร้อยละ 87.2) และอายุ > 80 ปี (พิสัย 80 ถึง 92) 27 ราย (ร้อยละ 12.8) ทั้งสองกลุ่ม พบเพศชายมากกว่า (p = 0.437) ขนาดของหลอดเลือดที่อุดตัน ระดับค่าเฉลี่ยความดันโลหิตก่อนให้ยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับยาหลังมีอาการ ไม่พบว่าต่างกันระหว่างสองกลุ่ม NIHSS score แรกรับในกลุ่มอายุมาก 13.89+/- 6.339 (พิสัย 5 ถึง 25) และกลุ่มอายุน้อย 11.57+-6.104 (พิสัย 1 ถึง 30) (p = 0.067) เลือดออกในสมองพบ 1 ราย (ร้อยละ 3.7) ในกลุ่มคนที่อายุมาก และกลุ่มที่มีอายุน้อย พบ 38 ราย (ร้อยละ 20.65) (p = 0.034; OR = 0.15; 95%CI 0.02 ถึง 1.12) การเสียชีวิตใน โรงพยาบาล กลุ่มที่มีอายุมากพบ 3 ราย (ร้อยละ 11.1) และกลุ่มคนที่อายุน้อยพบ 21 ราย (ร้อยละ 11.4) (p = 1.00) ติดตามผู้ป่วยอีก 90 วัน กลุ่มคนอายุมากไม่พบการเสียชีวิต และพบว่ากลุ่มคนที่อายุน้อย เสียชีวิต 2 ราย (ร้อยละ 3.6) (p = 0.44) และที่ 90 วัน NIHSS score และ MRS score นำมาเปรียบเทียบ พบว่าไม่มีความต่างกัน ระหว่างสองกลุ่ม (p>0.05)

สรุป: ปัจจัยด้านอายุไม่พบว่ามีความต่างกันทางด้านผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังการรักษา ดังนั้นการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ยังเป็นแนวทางการรักษาตามมาตรฐาน หลังเกิดการอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับผู้ป่วยกลุ่มอายุน้อยกว่า

Author Biography

Phanyarat Phankhian, M.D., กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

ว.ว. ประสาทวิทยา

References

1. Lansberg MG, Bluhmki E, Thijs VN. Efficacy and safety of tissue plasminogen activator 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke: a meta-analysis. Stroke 2009;40(7):2438-41.

2. Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. The National Institute of Neurological Disorders and Stroke rt-PA Stroke Study Group. N Engl J Med 1995;333:1581-7.

3. Wardlaw JM. Sandercock PA, Berge E. Thrombolytic therapy with recombinant tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. Where do we go from here? A cumulative meta-analysis. Stroke 2003;34:1437-42.

4. Generalized efficacy of t-PA for acute stroke. Subgroup analysis of the NINDS t-PA Stroke Trial. Stroke 1997;28:2119-25.

5. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2550.

6. Brown RD, Whisnant JP, Sicks JD, et al. Stroke incidence, prevalence, and survival: secular trends in Rochester, Minnesota, through 1989. Stroke 1996;27:373-80.

7. Wolf PA, D’Agostino RB, Belanger AJ, et al. Probability of stroke: from the Framingham Study. Stroke 1991;22:312-8.

8. Manolio TA, Kronmal RA, Burke GL, et al. Short-term predictors of incident stroke in older adults. The Cardiovascular Health Study. Stroke 1996;27:1479-86.

9. Asplund K, Carlberg B, Sundstrom G. Stroke in the elderly: observations in a population-based sample of hospitalized patients. Cerebrovasc Dis 1992;2:152-7.

10. Al Rajeh S. Stroke in the elderly aged 75 years and above. Cerebrovasc Dis 1994;4:402-6.

11. Sharma JC, Fletcher S, Vassallo M. Strokes in the elderly - higher acute and 3-month mortality - an explanation. Cerebrovasc Dis 1999;9(1):2-9.

12. Larrue V, von Kummer R, del Zoppo G, et al. Hemorrhagic transformation in acute ischemic stroke: potential contributing factors in the European Cooperative Acute Stroke Study. Stroke 1997;28:957-60.

13. Greenberg SM, Vonsattel JP. Diagnosis of cerebral amyloid angiopathy. Sensitivity and specificity of cortical biopsy. Stroke 1997;28:1418-22.

14. Sloan MA, Price TR, Petito CK, et al. Clinical features and pathogenesis of intracerebral hemorrhage after rt-PA and heparin therapy for acute myocardial infarction: the Thrombolysis in Myocardial Infarction (TIMI) II Pilot and Randomized Clinical Trial combined experience. Neurology 1995;45:649-58.

15. Gurwitz JH, Gore JM, Goldberg RJ, et al. Risk for intracranial hemorrhage after tissue plasminogen activator treatment for acute myocardial infarction. Participants in the National Registry of Myocardial Infarction 2. Ann Intern Med 1998;129: 597-604.

16. Mouradian MS, Senthilselvan A, Jickling G, et al. Intravenous rt-PA for acute stroke: comparing its effectiveness in younger and older patients. J Neurol Neurosurg Psychiatry 2005;76:1234-7.

17. van Oostenbrugge RJ, Hupperts RM, Lodder J. Thrombolysis for acute stroke with special emphasis on the very old: experience from a single Dutch centre. J Neurol Neurosurg Psychiatry 2006;77:375-7.

18. Engelter ST, Reichhart M, Sekoranja L, et al. Thrombolysis in stroke patients aged 80 years and older: Swiss survey of IV thrombolysis. Neurology 2005;65:1795-8.

19. Sylaja PN, Cote R, Buchan AM, et al. Thrombolysis for acute ischemic stroke patients aged 80 years and older: Canadian Alteplase for Stroke Effectiveness Study. J Neurol Neurosurg Psychiatry 2006;77:826-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-21