การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษานิ่วในท่อไตส่วนปลายระหว่างการส่องกล้องท่อไต (URS) และการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ESWL)

ผู้แต่ง

  • Sorawit Ladawan, M.D. ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษานิ่วในท่อไตส่วนปลายด้วยการส่องกล้องท่อไต (ureterscopy หรือ URS) และการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (extracorporeal shockwave lithotripsy หรือ ESWL)

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษานิ่วในท่อไตส่วนปลายในโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จำนวน 100 คน โดยเปรียบเทียบผลของการรักษา จำแนกตามวิธีรักษาเป็น descriptive analysis ทำการประเมินขนาดของนิ่ว ดัชนีมวลกาย (BMI) การขจัดเศษนิ่วได้หมด (stone-free) และการรักษาซ้ำ (re-treatment) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ และสถิติทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษา: ในกลุ่ม URS และกลุ่ม ESWL มี stone-free โดยรวมร้อยละ 86.96 และร้อยละ 68.52 ตามลำดับ (p= 0.732), re-treatment โดยรวมร้อยละ 13.04 และร้อยละ 31.48 ตามลำดับ (p = 0.022) ซึ่ง re-treatment ในกลุ่ม ESWL สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม URS ที่มี BMI < 25 และ BMI gif.latex?\fn_jvn&space;\small&space;\geq 25 มี stone-free ร้อยละ 84.00 และร้อยละ 90.48 ตามลำดับ (p = 0.752) ส่วนในกลุ่ม URS ที่มีขนาดของนิ่ว gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\leq 1 ซม. และ > 1 ซม. มี stone-free ร้อยละ 91.67 และร้อยละ 81.82 ตามลำดับ (p = 0.773), ในกลุ่ม ESWL ที่มี BMI < 25 และ BMI ≥ 25 มี stone-free ร้อยละ 75.76 และร้อยละ 57.14 ตามลำดับ (p = 0.023) ซึ่งพบว่า มีความแตกต่างกัน ส่วนในกลุ่ม ESWL ที่มีขนาดนิ่ว ≤ 1 ซม. และ > 1 ซม. พบ stone-free ร้อยละ 85.71 และ ร้อยละ 62.50 ตามลำดับ (p = 0.033) พบว่า มีความแตกต่างกัน

สรุป: การรักษานิ่วที่ท่อไตส่วนปลายด้วยวิธี URS เหมาะสำหรับนิ่วทุกขนาด และไม่ขึ้นกับ BMI ของ คนไข้ การรักษาด้วยวิธี ESWL เหมาะสำหรับนิ่วที่ขนาด ≤ 1 ซม. และคนไข้ที่มี BMI < 25

Author Biography

Sorawit Ladawan, M.D., ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

กลุ่มงานศัลกรรม
โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-21