การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสาธารณภัย ของหน่วยงาน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • Wilaiwan Nangern, Dip.N.S. บริหารงานสาธารณสุข
  • Sutat Kongkhuntod, B.PH. บริหารงานสาธารณสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนเตรียมพร้อมรับมือสาธารณภัยขององค์การอนามัยโลก ในการดำเนินงานด้านแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) การจำแนกและแยกแยะหมวดหมู่ของข้อมูล (typology and taxonomy analysis) จากเอกสาร รายงานและแผนปฏิบัติการฯ ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 20 แห่ง โดยจำแนกเป็นระดับกรม 10 หน่วยงาน และระดับจังหวัด ที่มีความเสี่ยงต่อสาธารณภัยมาก 10 หน่วยงาน

ผลการศึกษา: การบริหารจัดการสาธารณภัยของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ยังพบว่ามีปัญหาสำคัญๆ ในด้านโครงสร้างการบัญชาการเหตุการณ์ และการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติการตอบโต้สาธารณภัยในแต่ละประเภท ขาดบุคลากรในการเฝ้าระวัง การเตือนภัยล่วงหน้า การขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพ และแนวทางการบูรณาการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อเสนอแนะ: การดำเนินงานบริหารจัดการสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ควรมุ่งเป้าหมายในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับอย่างน้อย 4 พันธกิจ ได้แก่ 1) การรวบรวมความรู้ความเสี่ยงจากสาธารณภัย 2) การบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย 3) การลงทุนเพื่อสร้างระบบปฏิบัติการจัดการสาธารณภัย 4) การจัดทำแผน และเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัย

Author Biographies

Wilaiwan Nangern, Dip.N.S., บริหารงานสาธารณสุข

สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข

Sutat Kongkhuntod, B.PH., บริหารงานสาธารณสุข

สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-22