ผลการพัฒนารูปแบบการตรวจราชการ ที่ส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ ของผู้นิเทศเขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • Amornrat Limjitsomboon, M.N.S. การศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการตรวจราชการ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณของผู้นิเทศ 2. เพื่อศึกษาผลการใช้การเรียนรู้ตามสภาพจริง ในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของผู้นิเทศ

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้นิเทศเขต สุขภาพที่ 5 ทั้งหมด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic learning) และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ 5 ด้าน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดสอบย่อยในการทดสอบวัดความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ใช้สถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ
เกณฑ์ที่กำหนดไว้

ผลการศึกษา: ผลการวัดการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของผู้นิเทศในเขตสุขภาพที่ 5 ด้วยการใช้แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ 5 ด้าน หลังจากการนำรูปแบบการตรวจราชการ ที่จัดให้มีการเรียนรู้ตามสภาพจริงอยู่ในกระบวนการตรวจราชการนั้นพบว่า ผู้นิเทศสามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 56.67 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 26.67 ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 13.33 และระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 3.33 ตามลำดับ เนื่องจากการเรียนรู้ตามสภาพจริง เป็นการสอนที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของผู้นิเทศเป็นกระบวนการที่ผู้นิเทศได้ใช้ทักษะการคิดขั้นสูงจากกิจกรรม การเปิดโอกาสให้ผู้นิเทศเป็นผู้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเมินและตัดสินใจได้เอง มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีการสรุปความคิดรวบยอด เพื่อสร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ในกระบวนการเรียนรู้ ผู้นิเทศยังได้อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในเชิงวิชาการ และประสบการณ์ ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้ในระดับลึกแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ที่นำไปสู่การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของผู้นิเทศได้อีกด้วย

สรุป: รูปแบบการตรวจราชการ ของผู้นิเทศในเขตสุขภาพที่ 5 โดยเลือกนำเทคนิคและวิธีการที่ได้รับการยอมรับ ว่าสามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และสอดคล้องกับบริบทของกระบวนการตรวจราชการ ได้แก่การจัดให้มีการเรียนรู้ตามสภาพจริงอยู่ในกระบวนการตรวจราชการ โดยการฝึกสอน (coach) ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 5 ทำหน้าที่เป็นครูหรือผู้สอน (coaching) สามารถตั้งประเด็นคำถามชวนให้คิด ให้ศึกษาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณได้เป็นอย่างดี พบว่า
รูปแบบการตรวจราชการที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของผู้นิเทศนี้ สามารถใช้ในการพัฒนาสมรรถนะผู้นิเทศที่พึงประสงค์ได้ โดยองค์กรหรือหน่วยงาน อาจนำไปใช้ในการจัดเป็นหลักสูตรฝึกอบรมผู้ที่จะให้ทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศ ก่อนการแต่งตั้งเป็นผู้นิเทศ หรือก่อนการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นิเทศได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการตรวจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยรับการตรวจราชการได้ดียิ่งขึ้น

Author Biography

Amornrat Limjitsomboon, M.N.S., การศึกษาพยาบาล

สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-22