ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Acharaporn Neelasri, M.D. เวชศาสตร์ครอบครัว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) วังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงของการควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) วังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามการเขา้ ถึงบริการสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Chi-Square เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ

ผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระหว่างผู้ป่วยรับบริการที่โรงพยาบาลกำแพงแสน และ รพ.สต. วังน้ำเขียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) จำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ การมาตรวจติดตามไม่สม่ำเสมอ การใช้ยาอื่นนอกจากยาแผนปัจจุบัน การมีความเครียดความไม่สะดวกในการเดินทาง และการไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยผู้ป่วยที่ไปตรวจและรับยาที่โรงพยาบาลกำแพงแสน ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีจำนวนมากกว่าผู้ป่วยที่ไปตรวจและรับยาที่ รพ.สต. วังน้ำเขียว คิดเป็นร้อยละ 66 และ 48 ตามลำดับ

ผลสรุป: การควบคุมความดันโลหิตผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายประการทั้ง personal factors, life style และ environment การจัดบริการสุขภาพแบบใกล้บ้าน ใกล้ใจ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก ลดความแออัดในโรงพยาบาลได้รับบริการที่รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดได้อย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาเรื่องการขาดยา อันเป็นความเสี่ยงสำตัญต่อการต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบสำคัญๆ ของร่างกาย

Author Biography

Acharaporn Neelasri, M.D., เวชศาสตร์ครอบครัว

โรงพยาบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-22