ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร

ผู้แต่ง

  • Thinnakorn Chuenchom, M.D. โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

เกษตรกร, ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

          อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพสำคัญของคนไทย และประเทศไทยใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรตลอดจนข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงและการปฏิบัติตนของเกษตรกร เก็บข้อมูลจากผลการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรในพื้นที่เครือข่ายโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น ปีงบประมาณ 2558 มีเกษตรกรที่ได้รับการคัดกรอง และได้รับการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษ (reactive paper) 419 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ตามแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นำเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ทดสอบความเกี่ยวข้องระหว่างปัจจัยต่างๆ กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดด้วยการทดสอบ Pearson chi-square จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดไม่ปกติเกือบสองในสาม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ บทบาทความเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงาน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภาคสาธารณสุข ภาคเกษตร หรือภาคท้องถิ่นควรส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้แก่เกษตรกร

Author Biography

Thinnakorn Chuenchom, M.D., โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม

อ.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว

ว.ว. สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

References

1. ชนวน รัตนวราหะ. ระบบเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipan.org/node/522

2. สาคร ศรีมุข. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย (The Impact of the Use of Agricultural Clericalism Thailand) [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://library.senate.go.th/document/Ext6409/6409657_0002.PDF

3. แสงโฉม ศิริพานิช. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://epid.moph.go.th/wesr/file/y56/F56441_1384.pdf

4. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข : คลินิกสุขภาพเกษตรกร. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

5. สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม. สรุปข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร ปี 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nakhonpathom.doae.go.th/ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร/ลักษณะการเกษตรโดยทั่วไป%20ปี%2058.pdf

6. วิทญา ตันอารีย์, สามารถ ใจเตี้ย. การประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการปลูกพืชไร่เขตเทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://thaigcd.ddc.moph.go.th/uploads/file/KM/8%20Research%20CMRU.ac.th-1-SCI-14-53.pdf

7. สายสุนีย์ พันธุ์พานิช. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสารพิษในเลือดของเกษตรกรเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554.

8. มีชัย พลจางวาง, พัชราวลี สายบัว, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์. การใช้สารปราบศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม ตำบลไร่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://cph.snru.ac.th/UserFiles/File/การใช้สารปราบศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม%20ตำบลไร่(1).pdf

9. กรวิทย์ ตันศร. แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/NorthEastern/DocLib_Research/04-Labor%20with%20Agri%20Changing.pdf

10. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. แนวโน้มแรงงานเกษตรอายุมาก แนะผลิตแรงงานฝีมือ-จัดสวัสดิการ-ดึงเทคโนโลยีเข้าช่วย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid =21823&filename=news

11. กิตติพันธุ์ ย่งฮะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/BUU.res.2011.59

12. นงนุช นามวงษ์, นพพร โหวธีระกุล, ดุสิต สุจิรารัตน์, และคนอื่นๆ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับโคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มของเกษตรกรไร่องุ่นที่สัมผัสสารเคมีกำจัด [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/detail/index/1233

13. พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย, พีรญา อึ้งอุดรภักดี. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2559;4:417-28.

14. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase reactive paper) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/Crp.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-16