ความเหมาะสมของการใช้เลือดและปัจจัยที่มีผลกับการได้รับเลือดหลังผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก

ผู้แต่ง

  • Suwicha Limkitcharenporn, M.D. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ความเหมาะสมของการใช้เลือด, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การได้รับเลือดหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์:  เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้เลือดและศึกษาหาปัจจัยที่มีผลกับการได้รับเลือดหลังผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก

          วิธีการศึกษา:  การศึกษาแบบพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมตั้งแต่วันที่ 1 เดือนตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน 2560 นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกับการได้รับเลือดหลังผ่าตัดด้วย t-test independent, chi-square test และเปรียบเทียบสัดส่วนความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับเลือดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับเลือด ด้วยการวิเคราะห์ binary logistic regression และการประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% CI)

          ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 136 ราย พบว่ามีการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดจำนวน 287 ยูนิต มีการใช้เลือดจริงจำนวน 85 ยูนิต สำหรับผู้ป่วย 58 ราย crossmatch to transfusion ratio (C/T ratio) เท่ากับ 3.38 กลุ่มที่ได้รับเลือดมีน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (p<0.05) ค่าฮีโมโกลบินและค่าฮีมาโตคริตก่อนผ่าตัด (p<0.001) น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าฮีมาโตคริตก่อนผ่าตัดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด (OR=0.696, 95% CI=0.507-0.954, p=0.024) ส่วนอายุ เพศ ASA physical status ระยะเวลาการผ่าตัดและการหนีบสายระบายเลือดไม่มีผลกับการได้รับเลือดหลังผ่าตัด

          สรุป:  การใช้เลือดสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอยู่ในเกณฑ์ไม่เหมาะสมจึงควรเตรียมเลือดแบบ type and screen และปัจจัยที่มีผลกับการได้รับเลือดหลังผ่าตัด คือ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ค่าฮีโมโกลบินและค่าฮีมาโตคริตก่อนผ่าตัด

Author Biography

Suwicha Limkitcharenporn, M.D., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ว.ว. วิสัญญีวิทยา

References

1. ผกาวรรณ ชนะชัยสุวรรณ. Blood utilization in elective surgery at Police General Hospital. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2553;20:93-104.

2. สิทธิพร ดีทายาท. การลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาท กรณีไม่เร่งด่วนในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2558;34:26-34.

3. สมฤทธิ์ มหัทธโนบล, สมเกียรติ สรรพวีรวงศ์. ผลของแนวทางการจองเลือดสำหรับการผ่าตัดกรณีไม่ฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26:491-500.

4. Bhutia SG, Srinivasan K, Ananthakrishnan N, et al. Blood utilization in elective surgeryRequirement, ordering and transfusion practices. Nati Med J India 1997;10:164-8.

5. Kumari S, Kansay RK, Kumar S. Proposed maximum surgical blood ordering schedule for common orthopedic surgeries in Tertiary Health-Care Center in Northern India. J Orthop Allied Sci 2017;5:21-6.

6. Mahar FK, Moiz B, Khurshid M, et al. Implementation of Maximum Surgical Blood Ordering Schedule and Improvement in Transfusion Practices of Surgeons subsequent to Intervention. Indian J Hematol Blood Transfus 2013;29:129-33.

7. จุมภฏพงษ์ วงษ์เอก, ศุภมาศ ลิ่วศิริรัตน์, อุรวิศ ปิยะพรมดี. การศึกษาความคุ้มค่าของการจองเลือดสำหรับผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ที่ไม่ฉุกเฉินของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย 2558;39:17-24.

8. กัญญา พานิชกุล, โกรวาส แจ้งเสม, วราภรณ์ เชื้ออินทร์ และคนอื่นๆ. ความคุ้มค่าในการเตรียมเลือดเพื่อผ่าตัดวิธีปกติ (routine cross-match) สำหรับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดศัลยกรรมข้อเข่าและข้อสะโพกในกรณีไม่เร่งด่วน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557;29:423-8.

9. Lee QJ, Mak WP, Yeung ST, et al. Blood management protocol for total knee arthroplasty to reduce blood wastage and unnecessary transfusion. J Orthop Surg (Hong Kong) 2015;23:66-70.

10. Tay YWA, Woo YL, Andrew Tan HC. Routine pre-operative group cross-matching in totalknee arthroplasty: A review of this practice in an Asian population. The Knee 2016;23:306-9.

11. Lyer SS, Shah J. Red blood cell transfusion strategies and Maximum surgical blood ordering schedule. Indian J Anaesth 2014;58:581-9.

12. Noticewala MS, Nyce JD, Wang W, et al. Predicting need for allogeneic transfusion after total knee arthroplasty. J Arthroplasty 2012;27:961-7.

13. Mufarrih SH, Qureshi NQ, Ali A, et al. Total knee arthroplasty: risk factors for allogeneic blood transfusions in the south Asian population. BMC Musculoskelet Disord 2017;18:359.

14. Mesa-Ramos F, Mesa-Ramos M, Maquieira-Canosa C, et al. Predictors for blood transfusion following total knee arthroplasty: a prospective randomized study. Acta Orthop Belg 2008;74:83-9.

15. Hart A, Khalil JA, Carli A, et al. Blood transfusion in primary total hip and knee arthroplasty: Incidence, risk factors, and thirty-day complication rates. J Bone Joint Surg Am 2014;96:1945-51.

16. Salido JA, Marin LA, Gomez LA, et al. Preoperative hemoglobin levels and the need fortransfusion after prosthetic hip and knee surgery: analysis of predictive factors. J Bone Joint Surg Am 2002;84-A:216-20.

17. Bong MR, Patel V, Chang E, et al. Risks associated with blood transfusion after total knee arthroplasty. J Arthroplasty 2004;19:281-7.

18. Chareancholvanich K, Siriwattanasakul P, Narkbunnam R, et al. Temporary clamping of drain combined with tranexamic acid reduce blood loss after total knee arthroplasty: a prospective randomized controlled trial. BMC Musculoskelet Disord 2012;13:124.

19. Stucinskas J, Tarasevicius S, Cebatorius A, et al. Conventional drainage versus four hour clamping drainage after total knee arthroplasty in severe osteoarthritis: a prospective, randomized trial. Int Orthop 2009;33:1275-8.

20. Jeon YS, Park JS, Kim MK. Optimal release timing of temporary drain clamping after total knee arthroplasty. J Orthop Surg Res 2017;12:47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17