การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย โรงพยาบาลบางสะพาน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
รูปแบบบริการสุขภาพ, ผลกระทบ, ภัยพิบัติอุทกภัยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยโรงพยาบาลบางสะพาน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเหตุภัยพิบัติอุทกภัยในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
วิธีการศึกษา: ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) กระบวนการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ และความต้องการรูปแบบบริการสุขภาพในภาวะภัยพิบัติอุทกภัยครั้งนี้ 2) การจัดทำและพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพ 3) การปฏิบัติและปรับปรุงรูปแบบบริการสุขภาพด้วยกระบวนการ PAOR (Plan-Act-Observe-Reflect) 4) การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบบริการสุขภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มผู้นำชุมชน อาสาสมัคร และกลุ่มผู้มารับบริการในพื้นที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 23 คน และการประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างความรู้ แนวทางการพัฒนา และแนวทางปฏิบัติ (AIC) ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผู้ประสบภัยพิบัติอุทกภัย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 400 คน นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่ารูปแบบบริการสุขภาพที่ดำเนินการ ประกอบด้วย การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การจัดทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคาะประตูบ้าน และปฏิบัติการฟื้นบ้าน - ฟื้นกาย-ใจ หลังน้ำลด ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพ คือ 1) การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม 2) การวิเคราะห์ความต้องการด้านบริการสุขภาพของผู้ประสบภัย 3) การประสานงานร่วมกันด้านการแพทย์และสาธารณสุข 4) ระบบการดูแลต่อเนื่องหลังน้ำลด ผลการประเมินรูปแบบบริการสุขภาพ พบว่าความคิดเห็นต่อรูปแบบบริการสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 2.91, S.D. = 0.475) และการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบบริการโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (X= 3.18, S.D. = 0.549) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความพึงพอใจ เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และทีมเยี่ยมบ้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 3.31, S.D. = 0.631)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ประชาชนคาดหวังว่าโรงพยาบาลจะเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ กรณีโรงพยาบาลในพื้นที่ได้รับผลกระทบจนไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ภาครัฐ หน่วยงานและภาคีเครือข่าย ในและนอกพื้นที่ ควรประสานความร่วมมือและสนับสนุนจัดรูปแบบบริการสุขภาพ โดยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับระยะวิกฤติ คือ การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม การจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และจัดทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคาะประตูบ้าน ในระยะฟื้นฟูดำเนินการป้องกันควบคุมโรค การสุขาภิบาล ไม่ให้เกิดการระบาดของโรค และดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ประสบภัย ปัจจุบันภัยพิบัติอุทกภัยมีความถี่และรุนแรงมากขึ้น โรงพยาบาลซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรกำหนดจุดจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จัดทำแผนจัดบริการสุขภาพและซ้อมแผน เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
References
2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ; 2558.
3. สมชาติ โตรักษา. การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาโรงพยาบาล (Management in Hospital Development). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.
4. Paturas JL, Smith D, Smith S, et al. Collective response to public health mergencies and large-scale disasters: putting hospitals at the core of community resilience. J Bus Contin Emer Plan2010;4(3):286-95.
5. Kemmis S., Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press; 1988.
6. Zuber-Serritt O. Action research in higher education: example and reflections. London: Kogon Page; 1992.
7. ธวัชชัย ติงสัญชลี, และคณะ. โครงการการพัฒนาแผนหลักการจัดการภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำ: น้ำท่วม น้ำแล้ง และแผ่นดินถล่ม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2546.
8. สามชาย ศรีสันต์, และคณะ. การใช้ชีวิตร่วมกับน้ำ: การตอบสนองของผู้ประสบภัยต่อภัยพิบัติน้ำท่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2556.
9. ไททัศน์ มาลา, และคณะ. แนวทางในการจัดการอุทกภัย: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2556.
10. Hill L, Smith N. Self-care: Nursing promotion of health. New jersy: Prentice-Hall; 1985.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์