การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล ตามความต้องการ การพยาบาลของงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Rayong Banjongsil, B.N.S. โรงพยาบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล, งานผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความต้องการทางการพยาบาล จำแนกประเภทตามโรคผู้ป่วยเฉลี่ยต่อวัน ของหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครชัยศรี ศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะมีตามความต้องการการพยาบาล  โดยใช้สูตรการคำนวณอัตรากำลังของกองการพยาบาล สูตร 4 เปรียบเทียบกับกรอบอัตรากำลังตามโครงสร้างการบริหารของโรงพยาบาลชุมชน  กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ  บุคลากรทางการพยาบาล  จำนวน  12  คน  และผู้ป่วยที่มารับบริการเฉลี่ยต่อวัน  จำนวน 299 ราย ระหว่างวันที่ 4 - 31 มกราคม 2560 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วย  คู่มือการจำแนกประเภทโรคผู้ป่วย แบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงและกิจกรรมที่นอกเหนือจากกิจกรรม  การพยาบาลโดยตรงของผู้ป่วยแต่ละประเภท แบบบันทึกเวลาการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของบุคลากรทางการพยาบาล ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคทั่วไป 174 ราย โรคเบาหวานรายใหม่ 1 ราย รายเก่า 67 ราย ความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 ราย รายเก่า 48 ราย โรคหอบหืดรายใหม่ 1 ราย รายเก่า 3 ราย ให้คำปรึกษาเพื่อเจาะหาเชื้อโรคเอดส์ 1 ราย ให้คำปรึกษาเพื่อตรวจหาสารเสพติด methamphetamine 3 ราย ข้อมูลทั่วไปของบุคลากรทางการพยาบาล ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 8 คน พนักงานช่วยเหลือคนไข้ 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) ปริมาณความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละประเภทโรคในแต่ละวัน รวมเท่ากับ 6,343.56 นาที

          2)  อัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะมีตามความต้องการการพยาบาลตามสูตรการคำของกองการพยาบาลเท่ากับ 15 คน ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 10 คน และพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 5 คน และตามกรอบอัตรากำลังตามโครงสร้างการบริหารของโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข เท่ากับ 15 คน ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 9 คน และพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 6 คน

          3) เมื่อเปรียบเทียบอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลตามความต้องการการพยาบาล ระหว่างสูตรการคำนวณของกองการพยาบาล กับกรอบอัตรากำลังตามโครงสร้างการบริหารของโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

References

1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: คุรุสภา; 2544.

2. ฟารีดา อิบราฮิม. สาระการบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์; 2542.

3. พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. การจัดบุคลากรเพื่อคุณภาพการดูแล. กรุงเทพฯ: อนุกรรมการบริหารการพยาบาลลำดับที่ 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2526.

4. สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาล: ศาสตร์ของการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วี เจ พริ้นติ้ง; 2543.

5. ทัศนา บุญทอง. ปฏิรูประบบบริการพยาบาลที่สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์; 2543

6. กระทรวงสาธารณสุข กองการพยาบาล. แนวทางการจัดอัตรากาลังทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2545.

7. กระทรวงสาธารณสุข สานักการพยาบาล. การจำแนกประเภทผู้ป่วย งานบริการผู้ป่วยใน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2547.

8. วันชัย ริจิรวนิช. การศึกษาการทางาน หลักการและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

9. กฤษดา แสวงดี. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบริหารกรอบอัตรากาลังสายงานพยาบาลของโรงพยาบาลชุมชน สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 29 กรกฏาคม 2559.

10. มาริษา สมบัติบูรณ์. แนวคิดและการบริหารอัตรากำลังในหน่วยบริการพยาบาล. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17