ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

ผู้แต่ง

  • Supattra Phongissaranuporn, B.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • Sasaros Laipoonsawad, B.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • Pratoom Supachaipanichpong, B.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม  ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

          วิธีการศึกษา:  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ผู้ป่วยไตเสื่อมระยะ 3a จากเบาหวาน ซึ่งมารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลปกติ เป็นระยะเวลา 3 เดือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอ้างอิง chi square test, independent t-test และ dependent t-test

          ผลการศึกษา:  กลุ่มทดลอง มีการจัดการตนเองเรื่องการรับประทานอาหารและเรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสม  และอัตราการกรองของไต (GFR) ก่อนและหลังทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มควบคุม มีการจัดการตนเองเรื่องการรับประทานอาหารและเรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสมก่อนและหลังทดลอง  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่อัตราการกรองของไต (GFR) ไม่มีความแตกต่างกัน หลังจากผ่านโปรแกรมกลุ่มทดลองมีการจัดการตนเองเรื่องการรับประทานอาหารและเรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสม และอัตราการกรองของไต (GFR) แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลควรส่งเสริมให้พยาบาลนำแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองไปใช้ เพื่อให้พยาบาลได้มีทักษะและแนวทางในการวางแผนรูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อชะลอไตเสื่อมเป็นรายบุคคล

          สรุป:  การใช้โปรแกรมการจัดการตนเองเรื่องการรับประทานอาหารและการจัดการตนเองเรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสม  ส่งผลทำให้อัตราการกรองของไตดีขึ้นในกลุ่มผู้ป่วย  ฉะนั้นจึงควรมีการส่งเสริมการจัดการตนเองในเรื่องอาหารและการใช้ยาอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. อัตราความชุกโรคเบาหวานทั่วโลกจาก IDF 2560 [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ป.] [วันที่สืบค้น 3 มกราคม พ.ศ.2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmthai.org

2. วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

3. สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร. การให้ความรู้โรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

4. เพชร รอดอารีย์. ผลกระทบของโรคเบาหวานต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยในสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. ใน: วรรณี นิธิยานันท์, สาธิต วรรณแสง, ชาญชัย ดีโรจน์วงศ์, บรรณาธิการ. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย 2550. กรุงเทพฯ: วิวัฒน์การพิมพ์; 2550. หน้า 21-7.

5. Eskridge MS. Hypertension and chronic kidney disease: the role of lifestyle modification and medication management. Nephrol Nurs J 2010;37:55-60.

6. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ป.]. [วันที่สืบค้น 3 มกราคม พ.ศ. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmthai.org

7. ปิ่นแก้ว กล้ายประยงค์, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการสร้างเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตสู่ภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้ายของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรคไตโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2551;19:49-59.

8. Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self management methods. In: Kanfer FH, Goldstein A, editors. Helping people change: A textbook of methods. New York: Pergamon Press; 1991. p.305-60.

9. ศิริลักษณ์ ถุงทอง, ทิพมาส ชิณวงศ์, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2558;35:67-84.

10. ทัศนีย์ ขันทอง, อรุณ อิสระมาลัย, พัชรี คมจักรพันธ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อ
พฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล 2556;28:85-99.

11. ชดช้อย วัฒนะ, จงรักษ์ ศุภกิจเจริญ, ณฐวรรณ รักวงศ์ประยูร, และคนอื่นๆ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการตนเอง เพื่อควบคุมโรคต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคระดับความดันโลหิตและคุณภาพชีวิตของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2558;26:72-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17