การพัฒนาระบบทางด่วนคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ในโรงพยาบาลปากท่อ

ผู้แต่ง

  • Piyarat Tongyoi, M.D. โรงพยาบาลปากท่อ, จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์:  เพื่อพัฒนาระบบทางด่วนคัดกรองมะเร็งเต้านม ของสตรีที่มารับบริการตรวจก้อนเต้านม และศึกษาผลการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์เต้านมเคลื่อนที่คัดกรองมะเร็งเต้านม โดยแพทย์ที่ไม่ใช่รังสีแพทย์

          วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยตรวจคัดกรองก้อนเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมาย นำผู้ที่คลำพบก้อนมาตรวจคัดกรองเฉพาะบริเวณที่พบก้อนด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์เต้านมเคลื่อนที่ โดยแพทย์ที่ไม่ใช่รังสีแพทย์ (targeted breast ultrasonography) มีระบบให้คำปรึกษาโดยรังสีแพทย์ผ่านทางกลุ่มไลน์ FBC (fast track breast cancer) นัดหมายผู้ที่ผลเข้าได้กับมะเร็ง ตรวจอัลตราซาวนด์เต้านมทั้งสองข้าง (whole breast ultrasonography) และแมมโมแกรมซ้ำกับรังสีแพทย์โดยช่องทางด่วน (fast track breast cancer)  นำผลตอบกลับประเมินความถูกต้อง ของผลอัลตราซาวนด์เฉพาะที่ก้อนเต้านม โดยแพทย์ทั่วไป

          ผลการศึกษา:  ผู้มาร่วมโครงการปีงบประมาณ 2559 มี 13,404 ราย (ร้อยละ 88.4) และปี 2560 มี 14,777 ราย (ร้อยละ 96.6) เมื่อตรวจพบก้อน และได้รับการคัดกรองด้วยอัลตราซาวนด์เคลื่อนที่ ปี 2559 มี 30 ราย (ร้อยละ 3.5) ปี 2560 มี 120 ราย (ร้อยละ 8.1) ได้นัดเข้าระบบทางด่วนคัดกรองมะเร็งเต้านม ปี 2559 15 ราย (ร้อยละ 50) และ ปี 2560 25 ราย (ร้อยละ 20.8) โดยสามารถลดระยะเวลารอคอยคิวตรวจจากเดิม 2-6 เดือน เป็น 7-9 วัน และเมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจอัลตราซาวนด์เฉพาะที่ก้อนเต้านมโดยแพทย์ทั่วไป กับผลตรวจอัลตราซาวนด์และแมมโมแกรมโดยรังสีแพทย์แล้ว มีความไวร้อยละ 100 ความจำเพาะ ร้อยละ 60.9 ความถูกต้องแม่นยำ ร้อยละ 75 และค่าพยากรณ์ผลบวก ร้อยละ 59.1

          สรุป:  ระบบทางด่วนคัดกรองมะเร็งเต้านมช่วยลดระยะรอคอยคิวตรวจของผู้ป่วยได้ และการตรวจก้อนเต้านมโดยเครื่องอัลตราซาวนด์เต้านมเคลื่อนที่ โดยแพทย์ที่ไม่ใช่รังสีแพทย์ สามารถใช้เป็นการคัดกรองเบื้องต้นได้ แต่ต้องมีระบบให้คำปรึกษาโดยรังสีแพทย์ช่วยเหลือ ในกรณีผลการตรวจไม่ชัดเจน และในรายที่คลำได้ก้อนชัดเจนแต่ตรวจอัลตราซาวนด์เฉพาะที่ก้อนเต้านม แล้วไม่พบผิดปกติ ควรส่งพบรังสีแพทย์

Author Biography

Piyarat Tongyoi, M.D., โรงพยาบาลปากท่อ, จังหวัดราชบุรี

อ.ว. เวชกรรมป้องกัน

References

1. อาคม ชัยวีระวัฒนะ และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ; 2560.

2. HDC service. อัตราป่วยมะเร็งเต้านมต่อประชากร [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [วันที่สืบค้น 16 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www. Hdcservice.moph.go.th/

3. ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. โครงการสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จย่าต้านภัยมะเร็งเต้านม [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [วันที่สืบค้น 16 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.hpc.go.th/bse

4. Pisano ED, Hendrck RE, Yaffe MJ, et al. Diagnostic accuracy of digital versus film mammography: exploratory analysis of selected population subgroups in DMIST. Radiology 2008;246:376-83.

5. Berg WA, Blume JD, Cormack JB, et al. Combined screening with ultrasound and mammography vs mammography alone in woman at elevated risk of breast cancer. JAMA 2008;299:2151-63.

6. O Connell AM. The many roles of ultrasound in breast malignancy. Appl Radiol 2009;38.

7. Bickle I, Yang N. Breast ultrasound [Internet]. 2012 [cited 2017 Apr 15]. Available from: URL: https://radiopaedia.org/articles/breastultrasound

8. Breast imaging reporting and data system (BIRADS) ultrasound. Reston, VA: American college of radiology; 2003.

9. วิไลพร โพธิสุวรรณ. การตรวจอัลตราซาวนด์ของเต้านม. ใน: วลัยลักษณ์ ชัยสูตร, อภิญญา เจริญศักดิ์, วรรณวรางค์ ตรีสมิทธิ์, บรรณาธิการ. Ultrasound in clinical practice. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2556. หน้า 314-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17