ความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัว ของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตเทศบาลนครนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Budsayamart Busayarasamee, M.D. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

ความต้องการการดูแล, ผู้ดูแลผู้ป่วย, โรคหลอดเลือดสมอง, ทีมหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัว ของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตเทศบาลนครนครปฐม

          วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม (Orem) และแนวคิดความต้องการของผู้ดูแลของวินเกทและแลคเคย์ (Wingate & Lackey) และนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีคะแนนการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ด้วยดัชนี Barthel ADL Index ≤11 และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครนครปฐม จำนวน 142 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัว โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความต้องการการดูแลในระดับมาก จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการภายในบ้าน ด้านการพักผ่อน ด้านข้อมูล และด้านการเงิน ส่วนอีก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลสุขภาพ ด้านการเสริมสร้างพลัง ทางจิตวิญญาณ และด้านการประคับประคองจิตใจ มีความต้องการการดูแลในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่าสัมพันธภาพในครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความต้องการการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = 0.018) ส่วนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = 0.043)

          ข้อเสนอแนะ: ทีมหมอครอบครัวควรประเมินศักยภาพและความต้องการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่การวางแผนจำหน่าย การดูแลต่อเนื่อง และสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการมีส่วนร่วมของทีมหมอครอบครัว

Author Biography

Budsayamart Busayarasamee, M.D., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครปฐม

ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุขที่สำคัญ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

2. กุลธิดา พานิชกุล. ความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขณะพักรักษาตัวที่บ้าน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง บูรณาการแห่งวิธีวิทยา: สื่อสังคมและการจัดการ; 22 มีนาคม พ.ศ. 2556; ณ โรงแรมโนโวเทล หัวหิน ชะอำ บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

3. รสศุคณธ์ เจืออุปถัมย์. ความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2553.

4. Wingate AL, Lackey NR. A description of the needs of noninstitutionalized cancer patients and their primary care givers. Cancer Nurs 1989;12:216-25.

5. Orem DE. Nursing: concepts of practice. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1980.

6. วริสรา ลุวีระ. การดูแลสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28:266-70.

7. Yamane Taro. Statistics: an Introductory Analysis. New York: Harper & Row; 1996.

8. อรอนงค์ กูลณรงค์, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, ลัพณา กิจรุ่งโรจน์. ความพร้อมในการดูแลสัมพันธภาพในครอบครัว และความเครียดในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2555;4:14-25.

9. โรชินี อุปรา, ชลธิชา เรือนคำ, เจนนารา วงศ์ปาลี, และคณะ. ประสบการณ์ของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิทยาศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2554;12:50-9.

10. ฤทัย แสนสี. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

11. สำนักการพยาบาล. การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

12. กรรณิกา รักยิ่งเจริญ. การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2556;25:90-5.

13. ภาวิณี พรหมบุตร, นพวรรณ เปียซื่อ, สมนึก สกุลหงส์โสภณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557;20:82-96.

14. นงนุช เพ็ชรร่วง, ปนัดดา ปริยทฤฆ, วิโรจน์ ทองเกลี้ยง. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2556;14:25-34.

15. อรุณี ชุนหบดี, ธิดารัตน์ สุภานันท, โรชินี อุปรา, และคณะ. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2556;24:1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-17