การพัฒนารูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, รายงานเปลี่ยนเวรของพยาบาล, เอสบาร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวร และ 2) ศึกษาผลของรูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านโป่ง
วิธีการศึกษา: มี 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพการรายงานเปลี่ยนเวรปัจจุบัน ความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงการรายงานเปลี่ยนเวร ปัญหาและการรายงานเปลี่ยนเวรที่พึงประสงค์ โดยการสนทนากลุ่มและสอบถามข้อมูลจำเป็นจากพยาบาลวิชาชีพ
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการพัฒนารูปแบบ เป็นขั้นตอนที่นำผลจากขั้นตอนที่ 1 มาใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบ
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นทดลองใช้รูปแบบ เป็นการนำรูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 2 ไปทดลองใช้ ประเมินการปฏิบัติการรายงานเปลี่ยนเวร ประเมินความผิดพลาดในการดูแลผู้ป่วยจากการรายงานเปลี่ยนเวร ระยะเวลาการรายงานเปลี่ยนเวร และประเมินความพึงพอใจรูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 44 คน ทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 4 คน และทำการคัดเลือกพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในแบบสมัครใจ จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาและปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นประเมินผลและการปรับปรุงรูปแบบ เป็นการนำผลกำรทดลองรูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรในขั้นตอนที่ 3 มาปรับปรุง แก้ไขให้เหมาะสมและนำไปใช้
ผลการศึกษา: 1) รูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรที่ได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย 1.1) กระบวนการรายงานเปลี่ยนเวร ในระยะเตรียมตัวก่อนการเปลี่ยนเวร ระยะรายงานการเปลี่ยนเวร ระยะหลังรายงานการเปลี่ยนเวร และการตรวจสอบอุปกรณ์ที่มีการเตรียมเพื่อการรักษา 1.2) หลักการรายงานเปลี่ยนเวร ยึดหลักการรายงานแบบเอสบาร์ และ 1.3) ขั้นตอนการนำไปใช้ ขั้นที่ 1 การสร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 การสร้างการยอมรับ ขั้นที่ 3 การนำไปปฏิบัติ และขั้นที่ 4 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดำรงอยู่
2) ผลการใช้รูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรโดยใช้เอสบาร์ ทำให้ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติการรายงานเปลี่ยนเวร หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดในการดูแลผู้ป่วยจากการรายงานเปลี่ยนเวร หลังการพัฒนาน้อยกว่าก่อนพัฒนา ระยะเวลาการรายงานเปลี่ยนเวรเฉลี่ยหลังพัฒนาน้อยกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.694, p = .001; t = 2.828, p = .01 และ t = 4.023, p = .001 ตามลำดับ) และมีความพึงพอใจรูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
สรุป: กระบวนการพัฒนารูปแบบ หากส่งเสริมให้ทุกคนมองเห็นปัญหาร่วมกัน มีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดการแก้ไขปัญหา และเข้าใจความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
References
2. ประภัสสร มนต์อ่อน.ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพุทธโสธร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
3. สายทิพย์ ไชยรา. การพัฒนารูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.
4. Joint Commission Accreditation of Healthcare organization (JCAHO). Implementing the SBAR Technique. Patient Safety. Toronto Rehabilitation Institute 6 [internet]. 2006 [cited 2017 Mar 14]. Available from: URL: http://opm.gov/insure/health/planinfo/safety
5. Gephart SM. The art of effective handoffs: what is the evidence? Adv Neonatal Care 2012;12:37-9.
6. Tucker A, Brandling J, Fox P. Improved record-keeping with reading handovers. Nurs Manag (Harrow) 2009;16:30-4.
7. Dean PJ. Nurse-to-nurse caring begins with shift-to-shift report. Int J Hum Caring 2009;13:21-5.
8. Scovell S. Role of the nurse-to-nurse handover in patient care. Nurs Stand 2010;24:35-9.
9. Gage W. Evaluating handover practicein an acute NHS trust. Nurs Stand 2013;27:43-50.
10. เจียมจิตต์ เฉลิมชุติเดช และคณะ. ผลของการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวรโรงพยาบาลพระพุทธบาท [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [วันที่สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก URL: http://bppbh.blcgspot.com/2011/06/post_5531.html
11. Leonard M, Bonacurth D, Graham S. SBAR for improve communication: Quality tool in practice [internet]. 2006 [cited 2017 Mar 17]. Available from: URL: http://www.cdha.nshealth.ca/quality/ihiTools.html
12. Riesenberg LA, Leitzsch J, Little BW. Systematic review of handoff mnemonics literature. Am J Med Qual 2009;24:196-204.
13. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. HA Update 2016. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2552.
14. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. Patient Safety Goals: SIMPLE. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2559.
15. Pope BB, Rodzen L, Spross G. Raising the SBAR: how better communication improves patient outcomes. Nursing 2008;38:41-3.
16. LewinK, Cartwright D. Field theoryin social science: selected theoretical papers. New York: Harper & Row; 1951.
17. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ได อินเตอร์มีเดีย; 2550.
18. อวยพร กิตติเจริญรัตน์, และคณะ. ผลของการรับเวร-ส่งเวรโดยใช้ SBAR ของทีมการพยาบาลและความปลอดภัยของผู้ป่วย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารกรมการแพทย์ 2552;34:530-9.
19. Huber D. Leadership and nursing care management. 3rd ed. Philadelphia: Saunders Elsevier; c2006.
20. บุญใจ ศรีสถิตยนรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธการจัดองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
21. พิมประพรรณ สถาพรพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทั่วไป 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
22. ศรีลาวัลย์ สัจจะสกุลชัย. ผลการใช้รูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลและการบริหารความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการสื่อสาร หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดมีปัญหา โรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2559;8:91-106.
23. จินดา คูณสมบัติ. พัฒนารูปแบบการส่งเวรโดยใช้ SBAR ในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2556;4:18-25.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์