ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มีฟันเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอพุทธมณฑล

ผู้แต่ง

  • Bussakorn Theeranuluk, D.D.S. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มีฟันเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

            วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง (cross-sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในชมรมผู้สูงอายุทุกชมรมของอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 216 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเทียบเป็นสัดส่วนของประชากรจำแนกตามชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกสุขภาพช่องปาก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน chi-square test และ Fisher’s exact test

            ผลการศึกษา: พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 35.2 มีฟันแท้ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มีฟันเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุ คือ อายุ การศึกษา รายได้ การแปรงฟันก่อนนอน การทาความสะอาดซอกฟัน (p <0.05) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับการไม่มีฟันเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การคาดประมาณประชากรและอัตราต่างๆ ของประเทศไทย พ.ศ. 2543-2573 [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [สืบค้นเมื่อตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th.

2. อำมา ปัทมสัตยาสนธิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพไร้ฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยาลัยทันตสาธารณสุข 2551;13:97-104.

3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

4. อัมพร เดชพิทักษ์, รัชนก นุชพ่วง. ความสามารถในการบดเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551;13:97-105.

5. Ando A, Ohsawa M, Yaegashi Y, et al. Factors related to tooth loss among communitydwelling middle-aged and elderly Japanese men. J Epidemiol 2013;23:301-6.

6. สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, อมรรัตน์ รัตนศิริ, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, และคนอื่นๆ. ความสัมพันธ์ระหว่างการเคี้ยวหมากกับสุขภาพช่องปากในสตรีชนบทจังหวัดขอนแก่น การศึกษาระยะที่ 2. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2550;12:93-106.

7. Laguzzi PN, Schuch HS, Medina LD, et al. Tooth loss and associated factors in elders: results from a national survey in Uruguay. J Public Health Dent 2016;76:143-51.

8. Buchwald S, Kocher T, Biffar R, et al. Tooth loss and periodontitis by socio – economic status and inflammation in a longitudinal population based study. J Clin Periodontol 2013;40:203-11.

9. Natto ZS, Aladmawy M, Alasqah M, et al. Factors contributing to tooth loss among the elderly : A cross sectional study. Singapore Dent J 2014;35:17-22.

10. Imazato S, Ikebe K, Nokubi T, et al. Prevalence of root caries in a selected population of older adults in Japan. J Oral Rehabil 2006;33:137-43.

11. มณฑกานติ์ สีหะวงษ์. การศึกษาสถานการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการมีฟันเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556;18:20-35.

12. โรงพยาบาลพุทธมณฑล. รายงานสรุปผู้มารับบริการทันตกรรม ปีงบประมาณ 2560. นครปฐม: โรงพยาบาลพุทธมณฑล; 2560.

13. Daniel Wayne W. Biostatistics : A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York : Wiley; 1995.

14. Linden GJ, Linden K, Yarnell J, et al. All-cause mortality and periodontitis in 60-70-year-old-men: a prospective cohort study. J Clin Periodontal 2012;39:940-6.

15. De Marchi RJ, Hilgert JB, Hugo FN, et al. Four-year incidence and predictors of tooth loss among older adults in a southern Brazilian city. Community Dent Oral Epidemiol 2012;40:396-405.

16. Kapp JM, Boren SA, Yun S, et al. Diabetes and tooth loss in a national sample of dentate adults reporting annual dental visits. Prev Chronic Dis 2007;4:A59.

17. Novak MJ, Potter RM, Blodgett J, et al. Periodontal disease in Hispanic Americans with type 2 diabetes. J Periodontal 2008;79:629-36.

18. Paganini-Hill A, White SC, Atchison KA. Dental health behaviors, dentition, and mortality in the elderly: the leisure world cohort study. J Aging Res 2011;2011:156061.

19. Jiang Y, Okoro CA, Oh J, et al. Sociodemographic and health-related risk factors associated with tooth loss among adults in Rhode Island. Prev Chronic Dis 2013;10:E45.

20. Tezal M, Grossi SG, Ho AW, et al. The effect of alcohol consumption on periodontal disease. J Periodontal 2001;72:183-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-24