ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด, การควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการในคลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม - 21 กันยายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และกิจกรรมทางกาย (ความเที่ยงตรงมีค่า p=0.65 ค่าความน่าเชื่อถือ p=0.90) นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ด้วย t-test independent, chi-square test เปรียบเทียบสัดส่วนความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมไม่ได้กับกลุ่มที่ควบคุมได้ ด้วยการวิเคราะห์ binary logistic regression และการประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% CI) และพิจารณาจุดตัดของการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ ด้วยค่า sensitivity และ specificity โดย ROC curve
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 227 ราย พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ในกลุ่มที่ควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ (174.32 + 48.97) มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดได้ (135.56 + 23.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยถ้าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารเพิ่มขึ้น 1 mg/dL ผู้ป่วยมีโอกาสควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และเมื่อพิจารณา sensitivity และ specificity (ROC curve) ของการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ พบว่าผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลบางแพ มีการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ โดยมีจุดตัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารอยู่ที่ 144.5 mg/dL และกิจกรรมทางกาย มีความสัมพันธ์กับการควบควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยผู้ป่วยที่มีกิจกรรมทางกายปานกลางมีการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีกิจกรรมทางกายต่ำและสูงตามลำดับ ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ เพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ความดันเลือดแดงเฉลี่ย และระยะเวลาการเป็นโรคไม่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมไม่ได้
สรุป: ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร และกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังและมีการปรับพฤติกรรม เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ตั้งแต่ 144.5 mg/dL และแนะนำให้มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นต่อไป
References
2. World Health Organization. Diabetes [homepage on the internet]. 2018 [updated 2018 Oct 30; cited 2018 March 28]. Available from: URL:http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/
3. Bureau of Non Communicable Disease. Statistics chronic Thailand [internet]. 2016 [cited 2018 March 26]. Available from: URL:http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/
4. World Health Organization. Diabetes Fact Sheet. 2018 [cited 2018 March 28]. Available from: URL: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes/
5. American Diabetes Association. Erratum. Glycemic Targets. Sec. 6. In Standards of Medical Care in Diabetes-2017. Diabetes Care 2017;40(Suppl. 1);S48-S56. Diabetes Care 2017;40:985.
6. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; 2560.
7. Ebersole P, Hess PA. Geriatrics nursing and health ageing. St. Louis: Mosby; 2001.
8. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK). Risk Factors for Type 2 Diabetes. [cited 2018 August 30]. Available from: URL: http://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/risk-factors-type-2-diabetes/
9. พัชรียา อัมพุธ, สิริมา วงษ์พล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559;31:305-13.
10. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:256-68.
11. พรทิพย์ มาลาธรรม, ปิยนันท์ พรหมคง, ประคอง อินทรสมบัติ. ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553;16:218-37.
12. ยุทธพล มั่นคง. ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมในการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลอำนาจเจริญ 2554;4:837-45.
13. อุมาพร สิริโสภณวัฒนา. การศึกษาสถานภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่โรงพยาบาลพระพุทธบาทโดยใช้ระดับ FPG และระดับ HbA1c. วารสารเทคนิค
การแพทย์ 2558;43:5233-45.
14. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [วันที่ สืบค้น 20 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก URL: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=cf7d9da207c0f9a7ee6c4fe3f09f67dd&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3
15. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเขตสุขภาพที่ 5 จังหวัดราชบุรี โรงพยาบาลบางแพ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [วันที่สืบค้น 20 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก URL: https://rbr.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=cf7d9da207c0f9a7ee6c4fe3f09f67dd&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3
16. พรพิมล รัตนาวิวัฒน์พงศ์, อารมณ์ ขุนภาษี, ฉกาจ ผ่องอักษร, และคณะ. ความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามสากลเรื่องกิจกรรมทางกายชุดสั้นฉบับภาษาไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549;16:147-60.
17. ชัยพร แจ่มรัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารและระดับ HbA1C ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนครนายกและโรงพยาบาลองครักษ์. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร 2547;9:43-51.
18. ณัฐวุฒิ มาสาซ้าย, ธงชัย ประฏิภาณวัตร. What is the Optimal Fasting Plasma Glucose Level of Start Monitoring HbA1c. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2552;8:36-41.
19. นภา เมฆวณิชย์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Fasting Plasma Glucose และ Hemoglobin A1c เพื่อจัดทำตารางค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2557;42:4974-89.
20. World Health Organization. Physical activity [homepage on the Internet]. 2018 Feb 23 [cited 2018 March 28]. Available from: URL: http://www.who.int/news-room/factsheets/detail/physical-activity
21. ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6:102-9.
22. ธมลวรรณ พงษ์พิสิฏฐ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิด
ไม่พึ่งอินซูลินในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสำราญ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [ปรับปรุงข้อมูล 29 ตุลาคม 2558; วันที่สืบค้น 20 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก URL:http://203.157.168.8/research/index.php?option=com_content&view=article&id=146:2015-10-29-02-59-27
23. ธวัชชัย ฉันทวุฒินันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551;2:1042-7.
24. สุวัฒน์ศิริ แก่นทราย. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางหลวงเหนือ ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 หัวข้อ สร้างเสริมสหวิทยาการผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC; 29 กรกฎาคม 2559; ณ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี.
25. ปกาสิต โอวาทกานนท์. ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554;26:339-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์