ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Udomporn Subbowon, D.D.S. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การใช้บริการทันตกรรม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

            วิธีการศึกษา:  การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง (cross-sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จากชุมชนในตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 250 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2561 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ chi-square test

            ผลการศึกษา: พบว่าผู้สูงอายุ 46 คน (ร้อยละ 18.4) ของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง มีการใช้บริการทันตกรรมในรอบปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ คือ อายุ สิทธิ์การรักษา สถานบริการที่เข้าถึงได้ การมีฟันเหลือในช่องปากและการใส่ฟันเทียม (p-value <0.05) และปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2558.

2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. การดำเนินงานส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. รายงานผลสำรวจสภาวะทันตสุขภาพประจำปี 2560. นครปฐม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม; 2560.

4. Yamanae T. Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill; 1973.

5. Likert R. The human organization: its management and value. New York: McGraw-Hill; 1967.

6. Bloom BS. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1. Evaluation comment 1968;1:1-12.

7. Pewa P, Garla BK, Dagli R, et al. Utilization of Dental Services in Public Health Center: Dental Attendance, Awareness and Felt Needs. J Contemp Dent Pract 2015;16:829-33.

8. กันยารัตน์ คอวนิช, รณยุทธ ชาญเมธี. การใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน, คณะทันตแพทยศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.

9. ณัฐพนธ์ สมสวาท. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการการบริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตำบลจองคำ อำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2559.

10. Bommireddy VS, Koka KM, Pachava S, et al. Dental Service Utilization: Patterns and Barriers among Rural Elderly in Guntur District, Andhra Pradesh. J Clin Diagn Res 2016;10:ZC43-7.

11. ธิดา รัตนวิไลศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ [การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

12. สุภาพร แสงอ่วม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย. ชม. ทันตสาร 2558;36:53-61.

13. เกศศินี วีระพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน [ วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.

14. Mariño R, Giacaman RA. Patterns of use of oral health care services and barriers to dental care among ambulatory older Chilean. BMC Oral Health 2017;17:38.

15. วีระศักดิ์ พุทธาศรี, เพ็ญแข ลาภยิ่ง. การใช้บริการสุขภาพช่องปากของคนไทย 5 ปี หลังการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2552;18:489-504.

16. Arpin S, Brodeur JM, Corbeil P. Dental caries, problem perceived and use of service among institutionalized elderly in 3 regions of Quebec, Canada. J Can Den Assoc 2008;74:807.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-28