โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ที่พบจากการตรวจพิเศษทางรังสีลำไส้ใหญ่ ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • Autchara Suttawas, M.D. กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่, การตรวจพิเศษทางรังสีลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาหาค่าความถี่ และตำแหน่งรอยโรคของโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ จากการตรวจพิเศษทางรังสีลำไส้ใหญ่ ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ และเปรียบเทียบกับการศึกษาก่อนหน้านี้ทั้งในและต่างประเทศ

        วิธีการศึกษา:  ศึกษาย้อนหลังจากผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจพิเศษทางรังสีลำไส้ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยศึกษาค่าความถี่ของการเกิดโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่และตำแหน่งที่พบรอยโรค

        ผลการศึกษา:  มีผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจพิเศษทางรังสีลำไส้ใหญ่ เพื่อวินิจฉัยโรคบริเวณลำไส้ใหญ่ ทั้งสิ้น 1,052 ราย พบโรคนี้ 205 ราย ความถี่ร้อยละ 19.5 เป็นผู้หญิง 85 ราย (ร้อยละ 41.5) และผู้ชาย 120 ราย (ร้อยละ 58.5) ตามลำดับ พบผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 33 ปี จนถึง 94 ปี อายุเฉลี่ย 66.6 ปี มีผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 40 ปี 2 ราย (ร้อยละ 1) ผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี 157 ราย (ร้อยละ 76.6) พบรอยโรคส่วนใหญ่ด้านซ้ายของลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 41 ด้านขวา ร้อยละ 21 และทั้งสองด้าน ร้อยละ 38 ตำแหน่งลำไส้ใหญ่ด้านซ้ายที่พบบ่อยสุด คือ ลำไส้ใหญ่ส่วนคด พบภาวะแทรกซ้อน คือ การอักเสบ มีผนังกล้ามเนื้อหนาตัวผิดปกติ หรือทะลุ ร้อยละ 10.2

        สรุป:  ความถี่ของผู้ป่วยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ จากการตรวจพิเศษทางรังสีลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ พบร้อยละ 19.5 พบมากในผู้ป่วยสูงอายุเพศชาย ที่ตำแหน่งด้านซ้ายของลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 41 โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ ลำไส้ใหญ่ส่วนคด จากการศึกษานี้พบความแตกต่างจากการศึกษาในทวีปเอเชียก่อนหน้านี้ ที่พบรอยโรคส่วนใหญ่บริเวณลำไส้ใหญ่ด้านขวา

Author Biography

Autchara Suttawas, M.D., กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ว.ว. รังสีวิทยาทั่วไป 

References

1. Gore RM, Levine MS, editors. Textbook of gastrointestinal radiology. 2nd ed. Philadelphia: WB Saunders; 2000.

2. Colcock BF. Diverticular Disease of the Colon. Philadelphia: WB Saunders; 1971.

3. สุภกิจ ชมวิลัย. เอกสารคำสอน วิชาทฤษฎีวิทยาการบาดเจ็บและภาวะฉุกเฉินทางศัลยศาสตร์ เรื่อง colo-anal emergency (อินเตอร์เน็ต). 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก URL: https://www.colorectalchula.com/wp-content/uploads/2017/07/ColoanalEmergency.pdf

4. Stollman NH, Raskin JB. Diverticular disease of colon. J Clin Gastroenterol 1999;29:241-52.

5. Parks TG. Natural history of diverticular disease of the colon. Clin Gastroenterol 1975;4:53-69.

6. Markham NI, Li AK. Diverticulitis of the right colon: experience from Hong Kong. Gut 1992;33:547-9.

7. Woods RJ, Lavery IC, Fazio VW, et al. Internal fistulas in diverticular disease. Dis Colon Rectum 1988;31:591-6.

8. Sheth AA, Longo W, Floch MH. Diverticular disease and diverticulitis. Am J Gastroenterol 2008;103:1550-6.

9. Hunter TB, Merkley R, Pitt MJ. Relation between pelvic phleboliths and diverticular disease of the colon. AJR Am J Roentgenol 1984;143:105-7.

10. Werner A, Diehl SJ, Farag-Soliman M, et al. Multi-slice spiral CT in routine diagnosis of suspected acute left-sided colonic diverticulitis: a prospective study of 120 patients. Eur Radiol 2003;13:2596-603.

11. Ambrosetti P, Jenny A, Becker C, et al. Acute left colonic diverticulitis—compared performance of computed tomography and water-soluble contrast enema: prospective evaluation of 420 patients. Dis Colon Rectum 2000;43:1363-7.

12. Ambrosetti P, Robert J, Witzig JA, et al. Prognostic factors from computed tomography in acute left colonic diverticulitis. Br J Surg 1992;79:117-9.

13. Smith CC, Christensen WR. The incidence of colonic diverticulosis. Am J Roentgenol Radium Ther Nucl Med 1959;82:996-9.

14. Blachut K, Paradowski L, Garcarek J. Prevalence and distribution of the colonic diverticulosis. Review of 417 cases from Lower Silesia in Poland. Rom J Gastroenterol 2004;13:281-5.

15. Sugihara K, Muto T, Morioka Y, et al. Diverticular disease of the colon in Japan. A review of 615 cases. Dis Colon Rectum 1984;27:531-7.

16. Chan CC, Lo KK, Chung EC, et al. Colonic diverticulosis in Hong Kong: distribution pattern and clinical significance. Clin Radiol 1998;53:842-4.

17. Yap I, Hoe J. A radiological survey of diverticulosis in Singapore. Singapore Med J 1991;32:218-20.

18. Vajrabukka T, Saksornchai K, Jimakorn P. Diverticular disease of colon in a Far-eastern community. Dis Colon Rectum 1980;23:151-4.

19. Bahabozorgui S, DeMuth WEJr, Blakemore WS. Diverticulitis of the ascending colon. AM J Surg 1968;115:295-300.

20. Beranbaum SL, Zausner J, Lane B. Diverticular disease of the right colon. Am J Roentgenol Radium Ther Nucl Med 1972;115:334-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10