การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • Sukanya Puangniyom, Dip in Nursing Science สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
  • Nongnaphat Rungnoei, PhD (Higher Education) วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • Urairach Boontae, PhD สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ, รูปแบบ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี

วิธีการศึกษา:  เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (research & development) ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561  การวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่  (1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี  (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี  (3) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี  (4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ และ  (5) วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จตามรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา:  รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ดังนี้  (1) การเตรียมการเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ  การกำหนดบทบาทหน้าที่และชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีและพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  (2) การดำเนินงานดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ได้แก่ การประเมินปัญหา และความต้องการของผู้สูงอายุและวางแผนการดูแลรายบุคคล  การประสานความร่วมมือในการดูแลอย่างเป็นองค์รวม และการดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะยาวแบบครบวงจรทุกมิติ ทั้งในด้านการบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน  การส่งเสริมการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ  การส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ  การจัดระบบการส่งต่อ  การดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  และการจัดประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญหารายกรณี  (3) การให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล เพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างน้อยทุก 3 เดือน

ประสิทธิผลของรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นประเมินจาก  (1) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p=.001)  และ (2) ผลลัพธ์การดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 7 องค์ประกอบของพื้นที่นำร่องต้นแบบจำนวน 4 ตำบล บรรลุเป้าหมายที่กำหนด คือ คะแนนมากกว่าร้อยละ 70  โดยตำบลที่มีคะแนนสูงสุดมีคะแนนอยู่ในระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 90) และคะแนนต่ำสุดอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 78)

สรุป:  รูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่พัฒนาขึ้น มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และทีมสหสาขาวิชาชีพ ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทบทวนกฎระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายงบประมาณที่ชัดเจน การสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ การประสานงานการดูแลอย่างเหมาะสมและการติดตามให้คำปรึกษาเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้การใช้ระบบฐานข้อมูลทางคลินิกให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ และการพัฒนาศักยภาพ ทีมสหสาขาวิชาชีพ ครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้สามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างเหมาะสม และส่งผลให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

1. มูลนิธิสถาบันพัฒนาและวิจัยผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 31ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://thaitgri.org/?p=38427

2. Linton A, Lach H. Matteson & McConnell's Gerontological Nursing. 3rd ed. St. Louis: Elsevier; 2007.

3. สัมฤทธิ์ ธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2553.

4. ประเสริฐ อัสสันตชัย,บรรณาธิการ. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2554.

5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

6. World Health Organization. Lessons for long-term care policy. France: Creative Publications; 2002.

7. เบญจพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, นภัส แก้ววิเชียร. การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24:1018-29.

8. ประภาพร จอมเทพมาลา. ผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการ จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;31(3):507-22.

9. เพ็ญนภา มะหะหมัด. รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2561;10: 51-63.

10. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. รายงานข้อมูลจำนวนประชากรจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี; 2561.

11. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. รายงานสถิติภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2559. เพชรบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี; 2560.

12. Barr VJ, Robinson S, Marin-Link B, et al. The expanded Chronic Care Model: an integration of concepts and strategies from population health promotion and the Chronic Care Model. Hosp Q 2003;7:73-82.

13. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 31ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จากhttp://eh.anamai.moph.go.th/download/article/article_20180625164331.pdf

14. สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ; 2560.

15. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

16. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) [อินเทอร์เน็ต]. 2540 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/test/whoqol/

17. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.

18. Cohen, JM, Uphoff NT. Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation and evaluation [Internet]. 1977 [cited 2018 October 31]. Available from: URL: http://agris.fao.org/agris-search/search.do?recordID=XF2016013159

19. นงลักษณ์ วิรัชชัย. วิจัยและสถิติ: คำถามชวนตอบ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช; 2552.

20. สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

21. Waltz C, Strickland OL, Elizabeth LE. Measurement in nursing and health research. 5th ed. New York: Springer; 2016.

22. เอกชัย เพียรศรีวัชรา และคณะ. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-25