ผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลนครปฐม ที่มีการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • Rawiwan Thongsongsang, M.D. กลุ่มงานอายุรกรรม, โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

อัตราส่วนปกติมาตรฐานนานาชาติ (international normalized ratio), เวลาในช่วงรักษา (time in therapeutic range), ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, วาร์ฟาริน, ภาวะเลือดแข็งตัว, ภาวะเลือดออก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  ศึกษาผลของโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินแบบองค์รวมด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ เปรียบเทียบผลการรักษาและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนกับก่อนจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฯ

วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ในผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟารินในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลนครปฐม ช่วงก่อนการจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฯ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 จนถึง 31 ธันวาคม 2560 เปรียบเทียบผลการรักษากับช่วงหลังจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฯ ตั้งแต่ 1 มกราคม จนถึง 31 ตุลาคม 2561 เปรียบเทียบผลการรักษาโดยดูค่าเฉลี่ย (mean) ของเวลาในช่วงรักษา (time in therapeutic range; TTR) และการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ผลการศึกษา:  ก่อนมีการจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟารินแบบองค์รวมด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ มีผู้ป่วยถูกคัดเลือกเข้าวิจัย 370 ราย เพศชาย 155 ราย (ร้อยละ 41.9) เพศหญิง 215 ราย (ร้อยละ 58.1)  อายุเฉลี่ย 64.3 ปี (20-96 ปี) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินด้วยข้อบ่งชี้ ดังนี้ atrial fibrillation 203 ราย (ร้อยละ 54.9), mitral stenosis with AF 67 ราย (ร้อยละ 18.1), post mechanical valve replacement 30 ราย (ร้อยละ 8.1), post bioprosthetic valve replacement 2 ราย (ร้อยละ 0.5), deep vein thrombosis 31 ราย (ร้อยละ 8.4), pulmonary embolism 19 ราย (ร้อยละ 5.1), stroke 4 ราย (ร้อยละ 1.1), arterial occlusion 1 ราย (ร้อยละ 0.3), intracardiac thrombus 1 ราย (ร้อยละ 0.3), และอื่นๆ 12 ราย (ร้อยละ 3.2) หลังจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฯ มีผู้ป่วยที่ถูกคัดเลือกเข้าวิจัย 457 ราย เพศชาย 210 ราย (ร้อยละ 46.0), เพศหญิง 247 ราย (ร้อยละ 54.0) อายุเฉลี่ย 64.0 ปี (16-96 ปี) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินด้วยข้อบ่งชี้ ดังนี้ คือ atrial fibrillation 247 ราย (ร้อยละ 54.0), mitral stenosis with AF 80 ราย (ร้อยละ 17.5), post mechanical valve replacement 42 ราย (ร้อยละ 9.2 ), post bioprosthetic valve replacement 4 ราย (ร้อยละ 0.9), deep vein thrombosis 35 ราย (ร้อยละ 7.7), pulmonary embolism 25 ราย (ร้อยละ 5.5), stroke 7 ราย (ร้อยละ 1.5), arterial occlusion 1 ราย (ร้อยละ 0.2 ), intracardiac thrombus 2 ราย (ร้อยละ 0.4), และอื่นๆ 14 ราย (ร้อยละ 3.1) ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในคลินิกวาร์ฟารินก่อนการจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฯ มีค่าเฉลี่ย TTR รวม ร้อยละ 53.6 และหลังจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฯ มีค่าเฉลี่ย TTR รวมร้อยละ 56.4  มีความแตกต่างกับกลุ่มก่อนการจัดตั้งโครงการอย่างมีนัยสำคัญ (p-value 0.035 ที่ 95% CI -8.373 ถึง -0.674) หากพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกวาร์ฟารินตลอดการศึกษา 239 ราย มีค่าเฉลี่ย TTR ก่อนและหลังการจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยฯ ร้อยละ 47.1 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 58.4 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p value 0.021 ที่ 95% CI -14.935 ถึง -7.612) มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ หลอดเลือดอุดตันและภาวะเลือดออกลดลงจาก 13.96 per 100 patient-year ในกลุ่มก่อนจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฯ ลดลงเป็น 11.29 per 100 patient-year หลังจัดตั้งโครงการ

สรุป:  ผลการรักษาผู้ป่วยในคลินิกวาร์ฟาริน ที่มีการจัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพนี้ สามารถทำให้ผลการรักษารวมโดยประเมินจากค่าเฉลี่ย TTR ทั้งหมดของผู้ป่วยมีค่าสูงขึ้นจากร้อยละ 53.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 56.4 อย่างมีนัยสำคัญและการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งการเกิดหลอดเลือดอุดตันและภาวะเลือดออกลดลง จาก 13.96 per 100 patient-years เป็น 11.29 per 100 patient-years

Author Biography

Rawiwan Thongsongsang, M.D., กลุ่มงานอายุรกรรม, โรงพยาบาลนครปฐม

วท.ม.อายุรศาสตร์

References

1. Heeringa J, van der Kuip DA, Hofman A, et al. Prevalence, incidence and lifetime risk of atrial fibrillation: the Rotterdam study. Eur Heart J 2006;27(8):949-53.

2. Krahn AD, Manfreda J, Tate RB, et al. The natural history of atrial fibrillation: incidence, risk factors, and prognosis in the Manitoba Follow-Up Study. Am J Med 1995;98:476–84.

3. Karthikeyan G, Eikelboom JW. The CHADS2 score for stroke risk stratification in atrial fibrillation. Thromb Haemost 2010;104:45-8.

4. Olesen JB, Lip GY, Hansen ML, et al. Validation of risk stratification schemes for predicting stroke and thromboembolism in patients with atrial fibrillation: nationwide cohort study. BMJ 2011;342:d124.

5. Camm AJ, Lip GY, De Caterina R, et al. 2012 focused update of the ESC Guidelines for the management of atrial fibrillation: an update of the 2010 ESC Guidelines for the management of atrial fibrillation. Developed with the special contribution of the European Heart Rhythm Association. Eur Heart J 2012;33:2719-47.

6. January CT, Wann LS, Alpert JS, et al. 2014 AHA/ACC/HRS guideline for the management of patients with atrial fibrillation: executive summary: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on practice guidelines and the Heart Rhythm Society. Circulation 2014;130:2071-104.

7. Rosendaal FR, Cannegieter SC, van der Meer FJ, et al. A method to determine the optimal intensity of oral anticoagulant therapy. Thromb Haemost 1993;69:236-9.

8. Di Minno A, Frigerio B, Spadarella G, et al. Old and new oral anticoagulants: Food, herbal medicines and drug interactions. Blood Rev 2017;31(4):193-203.

9. Van der Meer FJ, Rosendaal FR, Vanderbrouke JP, et al. Bleeding complications in oral anticoagulant therapy an analysis of risk factors. Arch Inten Med 1993;153: 1557-62.

10. Patareli G, Leali N, Coccher S, et al. Bleeding complications of oral anticoagulant treatment: an inception-cohort, prospective collaborative study (ISCOAT). Lancet 1996;348: 423-8.

11. Caldeira D, Cruz I, Morgado G, et al. Is the time in therapeutic range using the ratio of tests equivalent to the Rosendaal method?. Blood Coagul Fibrinolysis 2015;26:972-6.

12. Asarcıklı LD, Şen T, İpek EG, et al. Time in Therapeutic Range (TTR) Value of Patients who use Warfarin and Factors which Influence TTR. J Am Coll Cardiol 2013;62(18 Suppl 2):C127-8.

13. พัทยา หวังสุข, สุนิดา แสงย้อย. การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล อําเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอํานาจเจริญ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557:23;45-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-25