อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ในช่วงปี 2558

ผู้แต่ง

  • Jitpannee Boontongkong, M.D. กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, การตรวจคัดกรอง, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรงพยาบาลสมุทรสาครและศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในปี 2558

วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) ในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลสมุทรสาครที่มารับการถ่ายภาพจอประสาทตา ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558 จำนวน 4,487 ราย โดยเก็บข้อมูลที่ศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานที่มารักษาในหน่วยงานผู้ป่วยนอกใช้กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาชนิดไม่ขยายม่านตา (Topcon®) และร่วมกับการตรวจโดยใช้ indirect ophthalmoscope เพื่อการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอ่านผลโดยจักษุแพทย์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ chi-square test

ผลการศึกษา:  ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการคัดกรอง 4,487 ราย มีภาวะเบาหวานขึ้นตา 879 ราย (ร้อยละ 19.6)  พบว่ามีความสัมพันธ์กับอายุ (กลุ่มอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป) ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน (5 ปีขึ้นไป) ระดับน้ำตาลในเลือด (ที่มากกว่า 130 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) และวิธีการรักษา (การรักษาด้วยยาฉีด) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป:  อุบัติการณ์ของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรงพยาบาลสมุทรสาคร ในปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 19.6 กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป มีระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน 5 ปีขึ้นไป มีระดับน้ำตาลที่มากกว่า 130 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และได้รับการรักษาด้วยยาฉีด เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นควรคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มดังกล่าวนี้ก่อนเป็นเกณฑ์เร่งด่วน เพื่อที่จะแก้ไขภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้

Author Biography

Jitpannee Boontongkong, M.D., กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ว.ว. จักษุวิทยา

References

1. Mathers CD, Loncar D. Projections of global mortality and burden of disease from 2002 to 2030.PLoS Med 2006;3(11):e442.

2. Bourne RR, Stevens GA, White RA, et al. Causes of vision loss worldwide, 1990-2010: a systematic analysis. Lancet Glob Health 2013;1(6):e339-49.

3. Aekplakorn W, Stolk RP, Neal B, et al. The prevalence and management of diabetes in Thai adults: the international collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care 2003;26(10):2758-63.

4. เมทินี ศิริมหานคร, ปุญญาวีร์ อาราเม, พิริญา สุ่มสวัสดิ์, และคนอื่นๆ. ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2553;19:226 - 33.

5. Jenchitr W, Samaiporn S, Lertmeemongkolchai P, et al. Prevalence of diabetic retinopathy in relation to duration of diabetes mellitus in community hospitals of Lampang. J Med Assoc Thai 2004;87:1321-6.

6. Supapluksakul S, Ruamviboonsuk P, Chaowakul W. The prevalence of diabetic retinopathyin Trang Province determined by retinal photography and comprehensive eye examination. J Med Assoc Thai 2008;91:716-22.

7. Wilkinson CP, Ferris FL, Klein RE, et al. Proposed international clinical diabetic retinopathy and diabetic macular edema disease severity scales. Ophthalmology 2003;110:1677-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-25