การศึกษาทางระบาดวิทยา และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยา ในจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
วัณโรคดื้อยา, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของวัณโรคปอด วัณโรคนอกปอดและวัณโรคแพร่กระจาย และศึกษาหาความชุกของวัณโรคดื้อยา และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดสมุทรสาคร
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงบรรยายและวิเคราะห์ จากข้อมูลที่ได้รับการลงทะเบียนวัณโรคจากโปรแกรมลงทะเบียนวัณโรค TBCM ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2560 โดยศึกษาอุบัติการณ์และผลการรักษาวัณโรคปอด วัณโรคแพร่กระจาย และวัณโรคนอกปอด รวมถึงความชุกของวัณโรคดื้อยาในกลุ่มที่มีวัณโรคปอดร่วมด้วย และวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการเกิดวัณโรคดื้อยา โดยใช้วิธี multivariate analysis ด้วย logistic regression เพื่อหา odds ratio
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมด 581 คน อายุเฉลี่ย 39.4 ± 13.7 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 375 คน (ร้อยละ 64.5) เป็นวัณโรคปอด วัณโรคนอกปอด และวัณโรคแพร่กระจายทั้งหมด 449 คน (ร้อยละ 79), 98 คน (ร้อยละ 17) และ 34 คน (ร้อยละ 6) ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 507 คน (ร้อยละ 87.3) เป็นชาวไทย 370 คน (ร้อยละ 63.7) ประชากรต่างชาติส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาร์ 203 คน (ร้อยละ 34.3) จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ติดเชื้อเอชไอวี 98 คน (ร้อยละ 16.9) ในผู้ป่วยวัณโรคที่มีวัณโรคปอดร่วมด้วย มีผู้ป่วยที่มีการดื้อยา isoniazid ร้อยละ 10.2 และดื้อยา rifampicin หรือดื้อยาหลายขนาน ร้อยละ 6.8 ความชุกของวัณโรคดื้อยาหลายขนานแบบปฐมภูมิ ร้อยละ 3.8 การติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยา คิดเป็น 2.83 เท่า (95% CI 1.20-6.65, p 0.017) การเป็นวัณโรคดื้อยาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คิดเป็น 5.21 เท่า (95%CI 2.16- 12.54, p < 0.001) โดยการติดเชื้อเอชไอวีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคแพร่กระจาย คิดเป็น 25.42 เท่า (95%CI 10.69-60.43) ประชากรต่างชาติไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยา แต่จะมีอัตราการเคลื่อนย้ายไปยังสถานพยาบาลแห่งอื่นสูงกว่าประชากรไทย
สรุป: ความชุกของวัณโรคปอดดื้อยาในเขตจังหวัดสมุทรสาคร มีมากกว่าความชุกโดยเฉลี่ยของประเทศไทย ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการติดเชื้อเอชไอวี ประชากรต่างชาติไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยา แต่มีโอกาสเคลื่อนย้ายประชากรสูงกว่าประชากรไทย
References
2. World Health Organization (WHO). WHO Global tuberculosis report 2017. Geneva: World Health Organization; 2017.
3. Minion J, Gallant V, Wolfe J, et al. Multidrug and extensively drug-resistant tuberculosis in Canada 1997-2008: demographic and disease characteristics. PLoS One 2013;8(1):e53466.
4. Faustini A, Hall AJ, Perucci CA. Risk factors for multidrug resistant tuberculosis in Europe: a systematic review. Thorax 2006;61:158–63.
5. Law WS, Yew WW, Chiu Leung C, et al. Risk factors for multidrug-resistant tuberculosis in Hong Kong. Int J Tuberc Lung Dis 2008;12:1065–70.
6. Diandé S, Sangaré L, Kouanda S, et al. Risk factors for multidrug-resistant tuberculosis in four centers in Burkina Faso, West Africa. Microb Drug Resist 2009;15:217–21.
7. Lee SW, Jeon K, Kim KH, et al. Multidrug-resistant pulmonary tuberculosis among young Korean soldiers in a communal setting. J Korean Med Sci 2009;24:592–5.
8. Balaji V, Daley P, Anand AA, et al. Risk factors for MDR and XDR-TB in a tertiary referral hospital in India. PLoS One 2010;5:e9527.
9. Daniel O, Osman E. Prevalence and risk factors associated with drug resistant TB in South West, Nigeria. Asian Pac J Trop Med 2011;4:148–51.
10. Ricks PM, Mavhunga F, Modi S, et al. Characteristics of multidrugresistant tuberculosis in Namibia. BMC Infect Dis 2012;12:385.
11. Zhao Y, Xu S, Wang L, et al. National survey of drug-resistant tuberculosis in China. N Engl J Med 2012;366:2161-70.
12. Bojorquez I, Barnes RF, Flood J, et al. Multidrug-resistant tuberculosis among patients in Baja California, Mexico, and Hispanic patients in California. Am J Public Health 2013;103:1301–05.
13. Hirpa S, Medhin G, Girma B, et al. Determinants of multidrug-resistant tuberculosis in patients who underwent first-line treatment in Addis Ababa: a case control study. BMC Public Health 2013;13:782.
14. Skrahina A, Hurevich H, Zalutskaya A, et al. Multidrug-resistant tuberculosis in Belarus: the size of the problem and associated risk factors. Bull World Health Organ 2013;91:36–45.
15. Chen S, Huai P, Wang X, et al. Risk factors for multidrug resistance among previously treated patients with tuberculosis in eastern China: a case-control study. Int J Infect Dis 2013;17:e1116–20.
16. Chuchottaworn C, Thanachartwet V, Sangsayunh P, et al. Risk factors for multidrug-resistant tuberculosis among patients with pulmonary tuberculosis at the Central Chest Institute of Thailand. PLoS One 2015;10:e0139986.
17. Wiwatworapan T, Anantasetagoon T. Extra-pulmonary tuberculosis at a regional hospital in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2008;39:521-5.
18. Wang JY, Hsueh PR, Wang SK, et al. Disseminated tuberculosis: a 10-year experience in a medical center. Medicine (Baltimore) 2007;86:39-46.
19. Gaifer Z. Epidemiology of extrapulmonary and disseminated tuberculosis in a tertiary care center in Oman. Int J Mycobacteriol 2017;6:162-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์