พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • อุดมพร ทรัพย์บวร, ท.บ. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ  และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ตามปัจจัยด้านลักษณะประชากร  ปัจจัยเอื้อ   และปัจจัยเสริมแรง ในเขตตำบลนครชัยศรีอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม   

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง (cross-sectional descriptive study ) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จากชุมชนในตำบลนครชัยศรี  อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 250 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ   เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์  เก็บรวมรวมข้อมูลช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2561  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test  independent และ one-way ANOVA

ผลการศึกษา: พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในตำบลนครชัยศรี  อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยรวม อยู่ในระดับมาก  ( =3.78) และเมื่อจำแนกตามอายุที่แตกต่างกัน ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยผู้สูงอายุ ที่มีอายุ60-69 ปี มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมากที่สุดแตกต่างจากผู้สูงอายุ 80ปีขึ้นไปที่มีพฤติกรรมน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามโรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน พบว่าผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่น้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เป็นโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05  และเมื่อจำแนกตามแรงเสริมพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่สูงกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05

 

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2558.
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. นนทบุรี: สามเจริญพานิชย์; 2561.
3. Yamanae T. Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill; 1973
4. Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.
5. ธราธร ดวงแก้ว, หิรัญญา เดชอุดม. งานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2550.
6. Swank ME, Vernon SW, Lairson DR. Patters of Prevention Dental Behavior. PHR 1986;101(2):175-84.
7. ภรณี ตังสุรัตน์, วิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย 2556;20(1):57-59.
8. นิตยา เจริญกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้ใช้บริการทันตกรรม:กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ [ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2556.
9. ศิริรัตน์ รอดแสวง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลทุ่งทองอำเภอหนองบัวจังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25