เปรียบเทียบผลการใช้วิธีการผ่าตัดคลอดบุตร ระหว่างการเปิดแผลผ่าตัดแบบ Pfannenstiel กับการเปิดแผลผ่าตัดแบบ Joel-Cohen ในโรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การผ่าตัดคลอดบุตร, การผ่าตัดเปิดแผลแบบ Pfannenstiel, การผ่าตัดเปิดแผลแบบ Joel-Cohenบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้วิธีการผ่าตัดคลอดบุตร ระหว่างการเปิดแผลผ่าตัดแบบ Pfannenstiel กับการเปิดแผลแบบ Joel-Cohen ในเรื่องระยะเวลาในการทำผ่าตัด ปริมาณการสูญเสียเลือด ระยะเวลาการได้รับยาแก้ปวดครั้งแรก และปริมาณยาแก้ปวดที่ได้รับทั้งหมดใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการผ่าตัดคลอดบุตร ระหว่างการเปิดแผลผ่าตัดแบบ Pfannenstiel กับการเปิดแผลแบบ Joel-Cohen โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ในปีงบประมาณ 2559 ถึงปีงบประมาณ 2561 จำนวน 321 คน โดยเปรียบเทียบระยะเวลาในการทำผ่าตัด ปริมาณการสูญเสียเลือด ระยะเวลาการได้รับยาแก้ปวด Pethidine ครั้งแรก และปริมาณยาแก้ปวด Pethidine ที่ได้รับทั้งหมดใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยของอายุผู้ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรของวิธีการผ่าตัดเปิดแผลแบบ Pfannenstiel อยู่ที่ 26.7±7.3 ปี และ การเปิดแผลแบบ Joel-Cohen อยู่ที่ 25.1±6.8 ปี ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p = .31 อีกทั้งยังพบว่าการผ่าตัดเปิดแผลแบบ Joel-Cohen ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดน้อยกว่าผ่าตัดเปิดแผลแบบ Pfannenstiel โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่26.3±4.2 นาที และ34.6±5.7 นาที ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาการได้รับยาแก้ปวด Pethidine ครั้งแรก และปริมาณยาแก้ปวด Pethidine ที่ได้รับทั้งหมดใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกันทั้งสองวิธี และปริมาณการสูญเสียเลือดในการทำผ่าตัดเปิดแผลผ่าตัดแบบ Pfannenstiel มีปริมาณมากกว่า การทำผ่าตัดเปิดแผลผ่าตัดแบบ Joel-Cohen อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (463.2±261.9 มิลลิลิตร และ 372.1±186.8 มิลลิลิตร ที่ p< .005)
สรุป: การผ่าตัดคลอดบุตรเปิดแผลแบบ Joel-Cohen ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด และเสียเลือดน้อยกว่าผ่าตัดเปิดแผลแบบ Pfannenstiel อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระยะเวลาการได้รับยาแก้ปวด Pethidine ครั้งแรก และปริมาณยาแก้ปวด Pethidine ที่ได้รับทั้งหมดใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกันทั้งสองวิธี
References
2. Wagner M. Choosing caesarean section. Lancet 2000; 356(9242):1677-80.
3. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, งามจิตต์ จัทรสาธิต, ชลลดา สิทธิทูรย์. ลักษณะการคลอดในโรงพยาบาลในประเทศไทย ปี 2533-2539. นนทบุรี. สถาบันวิจัยสาธารณสุข. 2541.
4. Suwannarurk K, Manusook S, Pongrojpaw D. Current Abdominal Incision for Obstetrics and Gynecologic Surgery. Tham Med J 2012;12:547-60.
5. Franchi M, Ghezzi F, Balestreri D. A randomized clinical trial of two surgical techniques for cesarean section. Am J Perinatol 1998;15:589-94.
6. Dumas AM, Girard R, Ayzac L. Maternal infection rates after cesarean delivery by Pfannenstiel or Joel-Cohen incision: a multicenter surveillance study. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2009;147:139-43.
7. Wallin G, Fall O. Modified Joel-Cohen technique for caesarean delivery. Br J Obstet Gynaecol 1999;106:221-6.
8. Abuelghar WM, El-Bishry G, Emam LH. Caesarean deliveries by Pfannenstiel versus Joel-Cohen incision: A randomised controlled trial. J Turk Ger Gynecol Assoc 2013;14:194-200.
9. Saha SP, Bhattarcharjee N, Das Mahanta S. A randomized comparative study on modified Joel-Cohen incision versus Pfannenstiel incision for cesarean section. J Turk Ger Gynecol Assoc 2013;14:28-34.
10. Olyaeemanesh A, Bavandpour E, Mobinizadeh M. Comparison of the Joel-Cohen-based technique and the transverse Pfannenstiel for caesarean section for safety and effectiveness: A systematic review and meta-analysis. Med J Islam Repub Iran 2017;31:54.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์