รูปแบบการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพวัยรุ่นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อมรเทพ บุตรกตัญญู, พ.บ., ส.ม. โรงพยาบาลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
  • ประภาพร เมืองแก้ว,สด. วิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

เครือข่ายสุขภาพวัยรุ่น, การขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพ, การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สภาพการดำเนินงานและแนวทางขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพวัยรุ่นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และเพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพวัยรุ่นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

          วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1)ศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น โดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี ที่สร้างขึ้นโดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาอำเภอบ้านแหลม 305 คน และศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพวัยรุ่นของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีจากการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 12 คน 2)พัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาพวัยรุ่นฯและ 3)ทดสอบโดยทดลองใช้รูปแบบฯ 8 สัปดาห์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่งและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา: สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับเพียงพอและอาจมีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ถูกต้องบ้าง(= 91.36, S.D.= 14.54) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ได้ร้อยละ 29.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01สภาพการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีการดำเนินงานคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นแต่ได้รับความสนใจน้อยและมีการทำงานบูรณาการเชิงพื้นที่น้อย รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมี  2 องค์ประกอบคือ     1)การเป็นหุ้นส่วน 2) การให้คุณค่ากันและกันได้แนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนฯ 5 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 2)การกำหนดนโยบายความร่วมมือ 3) การเตรียมความพร้อมเครือข่ายสุขภาพวัยรุ่น       4) การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในโรงเรียน 5)การประเมินผลการดำเนินงาน ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพฯของกลุ่มตัวอย่างแกนนำนักเรียนภายหลังเสร็จสิ้นการทดลองใช้รูปแบบฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=3.326, p =.002)กลุ่มตัวอย่างแกนนำนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจรูปแบบฯทั้งด้านความเหมาะสมของรูปแบบและกิจกรรม ผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

           สรุป: การสร้างเสริมและบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพวัยรุ่นฯโดยมีแกนนำนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ มีทักษะการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวกลุ่มเพื่อนให้เข้าใจ ยอมรับรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และสามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องโดยใช้ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นเป็นแหล่งขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือสนับสนุนให้โรงเรียนทุกแห่ง มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นระยะ เพื่อสร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืนและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. วารสารสถิติ รายไตรมาส ปีที่ 66 ไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.
2. วิชัย เอกพลากร, และคณะ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559: 197-218
3. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์
ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://rh.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=86.
4. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการอบรม YFHS : พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/yfhs/no3/3.พรบ.วัยรุ่น.pptx
5. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2560 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Books/545/Thai+Health+2017.html
6. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2560.
7. อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ลัดดา ดำริการเลิศ, บรรณาธิการ. การจัดการความรู้และสังเคราะห์ แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล:แนวทางการดูแลสุขภาพวัยรุ่น. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2553.
8. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ. เครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สำหรับเด็กและเยาวชนสตรีไทย อายุ 15-21 ปี [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www.hed.go.th/linkhed/file/24
9. Cohen JM, Uphoff N. Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation and evaluation. New York: Rural Development Committee, Cornell University;1977.
10. Kieffer CH. Citizen empowerment: A developmental perspective. Prevention in Human Services. 1984;3(2-3), 9–36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25