การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • กิ่งกาญจน์ ทรัพย์เย็น, พย.ม. สาขาบริหารการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • กนกทอง จาตุรงคโชค,วท.ม. สาขาสาธารณสุขศาสตร์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • กฤตยา ตันติวรสกุล, พย.ม. สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการนิเทศ, การนิเทศทางการพยาบาลในคลินิก, การเกิดแผลกดทับ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) หัวหน้าและรองหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นผู้นิเทศ จำนวน 10 คน 2) พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้รับการนิเทศ จำนวน 55 คน และ 3) เวชระเบียนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับที่มี Barden scale ≤18 ก่อนและหลังใช้รูปแบบ จำนวน 368 และ 355 ฉบับ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความรู้และประเมินการปฏิบัติการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ แบบสอบถามความรู้และประเมินการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ แบบบันทึกข้อมูลจำนวนการเกิดแผลกดทับ จำนวนวันนอนเฉลี่ยก่อนเกิดแผลกดทับและอัตราการเกิดแผลกดทับ (ระดับ 2 ขึ้นไป) ตามจำนวนวันนอนของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเชื่อมั่น ดำเนินการวิจัย 6 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาสภาพการณ์การนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ 2) การพัฒนาร่างรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ 3) ทดลองใช้ร่างรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและประเมินผล 4) ปรับปรุงร่างรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ 5) นำรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างและประเมินผล 6) ปรับปรุงรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนธันวาคม 2561–พฤศจิกายน 2562 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

 

ผลการศึกษา: 1) รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง หรือ KINGBPH Model ประกอบด้วย 1.1) การเตรียมความรู้ (knowledge-K) เป็นการเตรียมความรู้ผู้นิเทศโดยจัดทำคู่มือและจัดอบรมวิชาการให้ความรู้การนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ 1.2) การให้ความรู้ (informing-I) เป็นการทำให้ผู้นิเทศมีทักษะการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและฝึกปฏิบัติโดยการแสดงบทบาทสมมติ 1.3) การปฏิบัติตามมาตรฐาน (normative-N) เป็นการส่งเสริมให้ผู้นิเทศปฏิบัติตามนโยบายและมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล 1.4) การเสริมสร้างให้กำลังใจ (giving supportive-G) เป็นการสนับสนุนให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีการพูดคุย ปรึกษา ชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิก เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับบรรลุตามเป้าหมาย 1.5) การประเมินการปฏิบัติ (behavior evaluation-B) เป็นการให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศประเมินผลแต่ละกิจกรรมและสรุปภาพรวม โดยให้รายงานปัญหาหรืออุปสรรคจากการนิเทศและปฏิบัติการพยาบาลต่อทีมสายนิเทศ 1.6) การมีส่วนร่วม (participation-P) เป็นการสนับสนุนให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมกันวางแผนการนิเทศ ทุกกิจกรรมตลอดระยะเวลาการนิเทศ 1.7) การจัดการ (handling-H) เป็นการสนับสนุนผู้นิเทศด้านการจัดการวัสดุ อุปกรณ์หรือความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้รับการนิเทศ

2) ผลการใช้รูปแบบ หลังใช้รูปแบบ กลุ่มผู้นิเทศมีคะแนนความรู้เฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (=31.3, S.D.=1.78) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.6, S.D.=0.18)  หลังใช้รูปแบบ กลุ่มผู้รับการนิเทศมีคะแนนความรู้เฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (=35.3, S.D.=1.35) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (=4.4, S.D.=0.26) และเวชระเบียนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ก่อนใช้รูปแบบ จำนวน 368 ฉบับ เกิดแผลกดทับ 28 คน 29 แผล อัตราการเกิดแผลกดทับ (ระดับ 2 ขึ้นไป) ตามจำนวนวันนอนของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 6.24 แผล/1,000 วันนอน หลังใช้รูปแบบ จำนวน 355 ฉบับ เกิดแผลกดทับ 18 คน 18 แผล อัตราการเกิดแผลกดทับ (ระดับ 2 ขึ้นไป) ตามจำนวนวันนอนของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง  2.95 แผล/1,000 วันนอน พบว่า ลดลง และจำนวนวันนอนเฉลี่ยก่อนเกิดแผลกดทับ ก่อนใช้รูปแบบ เท่ากับ 3.05 วัน หลังใช้รูปแบบ เท่ากับ 5.25 วัน พบว่า เพิ่มขึ้น 

สรุป: รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลบ้านโป่ง ที่พัฒนาขึ้น มุ่งเน้นการจัดการให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะการปฏิบัติและความพึงพอใจทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย การพัฒนาผู้นิเทศให้สามารถนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผู้รับการนิเทศปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกในผู้ป่วยกลุ่มโรคต่างๆ

         

References

1. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: หนังสือดีวัน จำกัด; 2561: หน้า 67-69.
2. ลดาวัลย์ รวมเมฆ. การพัฒนาผู้นิเทศทางการพยาบาล ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี. [ออนไลน์]. 2557 [1 กุมภาพันธ์ 2562]; แหล่งที่มา: http://www. teacher.ssru.ac.th/thitavan ho/11/ nursing%20supervision.pdf.
3. Bezuidenhout MC et al. Guideline for enhancing clinical supervision. Health sagesondheid. 2003; 8(4):12-23.
4. Proctor B..Supervision: A Co-Operative Exercise. In Accountability in Marken M., and Payne M. eds. Enabling and Ensuring-supervision in Practice. Leicester: National Youth Bureau and the Council for Education and Training in Youth and Community Work. 1987.
5. Sashkin, MA. manager's guide to participative management. New York: AMA Membership Publication Division; 1982.
6. ผ่องศรี สุพรรณพายัพ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2556; 6(1):12-18.
7. เผอิญ ณ พัทลุง (2559). บทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็นจริงและที่คาดหวังด้านการใช้กระบวนการพยาบาล ด้านการบันทึกทางการพยาบาลและด้านการพัฒนาความรู้ของบุคลากร ในโรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1),190-206, 2559.
8. พิทยาภรณ์ นวลสีทอง ชฎาพร เขตนิมิตร และทศพร เมืองสถิตย์. ผลของการใช้แป้งทานาคาในการป้องกันแผลกดทับ ระดับ 1 ในผู้สูงอายุหอผู้ป่วยศัลยกรรมชายโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2560; 31(1):179-189.
9. Harvey SE, Parrott F, Harrison DA, Bear DE, Segaran E, Beale R, Bellingan G, Leonard R, Mythen MG,
Rowan KM, Investigators CT, Trial of the route of early nutritional support in critically ill adults; N Engl J Med. 2014; 371:1673-1684.
10. อรรถยา อมรพรหมภักดิ์ นันทรัตน์ ศรีนุ่นวิเชียร และนฤพงศ์ ศักดิ์ทอง, บรรณาธิการ. กองการพยาบาล สำนัก ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดเก็บข้อมูลสำคัญด้านการพยาบาลปี 2561 (1 ต.ค. 60 – 30 ก.ย. 61); หน้า 70.
11. รายงานผลตัวชี้วัด ประจำปี. โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. กลุ่มการพยาบาล, 2561. (เอกสารไม่มีตีพิมพ์)
12. กาญจนา รุ่งแสงจันทร์ วรรณิภา สายล่า จุฬาพร ประสังสิต, บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2558 เรื่องการก้าวสู่องค์กรพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสูง; 8-9 ธันวาคม 2558; ณ โรงพยาบาลศิริราช; 2558.
13. Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. In: Cutcliffe JR., Hyrkas K, Fowler j, editors. Routledge Handbook of Clinical Supervision Fundamental International Themes. Fundamental themes. [Internet]. 1st ed. London: 5 Howick Place; 2010; 23 – 34. [cited 2018 Dec 3]. Available from: https://www.routledgehandbooks. com/doi/10.4324/9780203843437.ch3.
14. วรพล ดิลกทวีวัฒนา. คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู. การนิเทศ Supervision. 2560 [วันที่สืบค้น 10 มกราคม 2562] Available from: URL: https://issuu.com/chiratrachoo/docs/
15. สุพิศ กิตติรัชดาและวารี วณิชปัญจพล. การบริการพยาบาลสู่คุณภาพการนิเทศการพยาบาล: NURSING SUPERVISION IMPLEMENTATION TO QUALITY. กรุงเทพ: สามเจริญ; 2551. หน้า 2-9.
16. Van E. Clinical Supervision: a practical guide. Edinburgh: Churchill Livingstone; 2000.
17. พัชรินทร์ คำนวล นิภาภรณ์ เชื้อยูนาน และศิริพร เดชอุปการะกุล. ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกสาหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลพะเยา. วารสารหัวหินสุขใจ ไกลกังวล. 2561; 3(2):89-101.
18. Bloom Benjamin S., et al. Taxonomy of Educational Objectives. New York : David Mckay Company. 1956.
19. สมกมล สายทอง. ผลของการใช้โปรแกรมการนิเทศของหัวหน้าทีม ต่อคุณภาพบริการพยาบาล โรงพยาบาลปทุมเวช. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
20. รัตนา วงษ์พิทักษ์โรจน์. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและความพึงพอใจในการนิเทศของพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556; 25(2): 67-80.
21. ดารารัตน์ เอี่ยมอากาศ. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่บูรณาการแนวคิดการร่วมงานต่อการรับรู้ ผลลัพธ์การพยาบาลของพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเซนต์หลุยส์; 2553.
22. วาสนา มิกราช. การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2560];[28หน้า]. แหล่งที่มา:http://sawanghospital.com/sawang/cqisearch.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26