ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลันที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ จิรัสย์ชำนะ พ.บ. ว.ว.เวชศาสตร์ฉุกเฉิน กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน, ความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาผ่านระบบช่องทางเร่งด่วน และมีข้อบ่งชี้ในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2558 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ.2561 นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดด้วยสถิติ t-test independent และ chi-square test

ผลการศึกษา:จากผู้ป่วยทั้งหมด53รายพบว่ามีเพียง 10 รายที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายในเวลา 60 นาทีหลังมาถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาส่งตรวจและรอผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดล่าช้ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไม่ล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เช่นเดียวกับกระบวนการดูแลผู้ป่วยหลังการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจนถึงเวลาที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (p<.001) ในขณะที่อายุ เพศ ความรุนแรงของอาการทางระบบประสาท ระบบการนำส่ง และช่วงเวลาที่มาถึงโรงพยาบาล ไม่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือด

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้แก่ ระยะเวลาส่งตรวจและรอผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง รวมทั้งกระบวนการดูแลผู้ป่วยหลังการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจนถึงเวลาที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด การปรับลดเวลาและขั้นตอนของกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วและลดภาวะทุพพลภาพของผู้ป่วย

References

1. Feigin VL, Forouzanfar MH, Krishnamurthi R, et al. Global Burden of Diseases, Injuries, and Risk Factors Study 2010 (GBD 2010) and the GBD Stroke Experts Group. Global and regional burden of stroke during 1990-2010: findings from the Global Burden of Disease Study 2010. Lancet 2014;383:245-54.
2. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข 2559. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
3. Nilanont Y, Nidhinandana S, Suwanwela NC, et al. Quality of acute ischemic stroke care in Thailand: A prospective multicenter countrywide cohort study. J Stroke Cerebrovasc Dis 2014;23:213
4. สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. กรุงเทพ: สถาบันประสาทวิทยา;2550.
5. The National Institute of Neurological Disorders and Stroke rt-PA Stroke Study Group. Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. N Engl J Med 1995;333:1581-88.
6. Boysen G, The ECASS Study group. European Cooperative Acute Stroke Study (ECASS): (rt-PA-Thrombolysis in acute stroke) study design and progress report. Eur J Neurol 1995;1:213-9.
7. Hacke W, Kaste M, Bluhmki E, et al. Thrombolysis with Alteplase 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke. N Engl J Med 2008;359:1317-29.
8. Hacke W, Donnan G, Fieschi C, et al. Association of outcome with early stroke treatment: pooled analysis of ATLANTIS, ECASS, and NINDS rt-PA stroke trials. Lancet. 2004;363:768-74.
9. Fonarow GC, Smith EE, Saver JL, et al. Timeliness of Tissue-Type Plasminogen Activator Therapy in Acute Ischemic Stroke, patient characteristics, hospital factor, and outcomes associated with door-to-needle times within 60 minutes. Circulation 2011;123:750-58.
10. Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, et al. 2018 Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: A guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2018;49:e46. doi: 10.1161/STR.0000000000000158.
11. Albers GW, Bates VE, Clark WM, et al. Intravenous tissue plasminogen activator in the treatment of acute stroke: the Standard Treatment WithAlteplase to Reverse Stroke (STARS) study. JAMA 2000;283:1145-50.
12. Wahlgren N, Ahmed N, Davalos A, et al. Thrombolysis with alteplase for acute ischemic stroke in the Safe Implementation of Thrombolysis in Stroke-Monitoring study (SITS-MOST): an observational study. Lancet 2007;369:275-82.
13. Fonarow GC, Smith EF, Saver JL, et al. Improving door-to-needle times in acute ischemic stroke: the design and rationale for the American Heart Association/American Stroke Association’s Target: Stroke initiative. Stroke 2011;42:2983-9.
14. Xian Y, Xu H, Lytle B, et al. Use of strategies to improve Door-to-needle times with tissue-type plasminogen activator in acute ischemic stroke in clinical practice finding from target: stroke. CircCardiovascQual Outcomes 2017;10:e003227.
15. Sauser K, Levine DA, Nickles AV, et al. Hospital variation in thrombolysis times among patients with acute ischemic stroke the contributions of door-to-imaging time and imaging-to-needle time. JAMA Neurol 2014;71:1155-61.
16.ตุลาพร อินทนิเวศน์. ศึกษากระบวนการการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (Stroke fast track) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2560;13(2):35-47.
17. Tai YJ, Weir L, Hand P, Davis S, Yan B. Does a code stroke rapid access protocol decrease door-to-needle time for thrombolysis. Intern Med J 2011;42:1316-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26