การผ่าตัดรักษาใบหูพับงอแต่กำเนิด: รายงานผู้ป่วย 1 ราย

ผู้แต่ง

  • จริยา โล่ห์สวัสดิ์กุล, ทพญ. ว.ท. ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การผ่าตัด, ใบหูพับแต่กำเนิด, หูพิการแต่กำเนิด

บทคัดย่อ

ใบหูพับงอเป็นหูพิการอย่างหนึ่งที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยเกิดความผิดปกติตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงการสร้างหูซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการสร้างอวัยวะอื่น เช่น ใบหน้า ขากรรไกร ฟันและไต การตรวจและวินิจฉัยใบหูพับงอตั้งแต่แรกคลอด ยังช่วยให้ดำเนินการสืบค้นและรักษาความผิดปกติของอวัยวะอื่นที่เกี่ยวข้อง

การรักษาใบหูพับงอมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีผ่าตัดแก้ไขตามประสบการณ์และความถนัดของผู้ให้การรักษา การดัดจัดรูปร่างใบหูพับงอที่มีความผิดปกติในเด็กทารกเป็นที่สหสาขาวิชาชีพที่ดูแลทารกแรกเกิด ควรส่งเสริมให้เป็นทางเลือกการรักษาเพื่อประโยชน์ต่อเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน เป็นการลดโอกาสการผ่าตัดในภายหลัง

บทความนี้นำเสนอสาเหตุ แนวทางการวินิจฉัยวิธีการรักษาใบหูพับงอ และรายงานผู้ป่วยใบหูพับงอ 2 ข้างแต่กำเนิด 1 ราย

รายงานผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดรักษาใบหูพับรูปถ้วยแต่กำเนิด ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 26 ปี ได้รับการ ส่งตัวจากคลินิกเอกชนด้วยเรื่องใบหูพับงอ ใส่แว่นไม่ได้เพราะเจ็บใบหูบริเวณที่สัมผัสขาแว่น เป็นมานานเกิน 2 ปี จักษุแพทย์แนะนำให้ใส่แว่น เพราะมีอาการตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้ป่วยสุขภาพทั่วไปแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติการแพ้ยา ตรวจใบหูทั้ง 2 ข้าง พบว่ามีการพับงอ ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ ทำการเย็บกระดูกอ่อนแบบมัสตาร์ด (Mustarde suture) เย็บผิวหนังที่ยืดขนาดแล้วจากการเปิดแผลแบบวี-วาย (V-Y incision) ระยะเวลา 1 เดือนหลังผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถใส่แว่นได้ตามปกติ ไม่มีอาการเจ็บ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

References

1. Children’s National Health System. Pediatric Ear Malformations [internet] 2013 [cited 2019 Mar 9]. Available from: URL: https://childrensnational.org/choose-childrens/conditions-and-treatments/ear-nose-throat/ear-malformations
2. Tanzer RC. The constricted (cup and loop) ear. Plast Reconstr Surg. 1975;55(4):406-15.
3. Elshahat A, Lashin R. Reconstruction of Moderately Constricted Ears by Combining V-Y Advancement of Helical Root, Conchal Cartilage Graft, and Mastoid Hitch. Eplasty 2016;16:e19.
4. Donald W. Buck II, Petger C. Neligan. Review of Plastic Surgery. 2016; Edinburg: Elsevier
5. Weerda H, Siegert R. Classification and treatment of auricular malformations. Dt Arzteblatt 1999;96 (36):1795-7.
6. Swartz JD, Faerber EN. Congenital malformations of the external and middle ear: high-resolution CT findings of surgical import. AJR Am J Roentgenol 1985;144(3):501-6.
7. Bartel-Friedrich S, Wulke C. Classification and diagnosis of ear abnormalities. Laryngorhinootologie 2007;86 Suppl 1:S77-95.
8. Phileemon EP, Infant Ear Molding Center. Cup And Constricted Ear Deformity [internet] 2016 [cited 2019 Jun 18]. Available from: URL: https://www.infantearmolding.com/gallery/cup-ear-deformity
9. Al-Qattan MM. An alternative approach for correction of constricted ears of moderate severity. Br J Plast Surg 2005;58(3):389-93.
10. Millard DR, McCafferty LR, Prado A. A simple, direct correction of the constricted ear. Br J Plast Surg 1988;41(6):619-23.
11. Horlock N, Grobbelaar AO, Gault DT. 5-year series of constricted (lop and cup) ear corrections: development of the mastoid hitch as an adjunctive technique. Plast Reconstr Surg 1998;102(7):2325-32; discussion 2333-5.
12. Ento Key. Incisionless Otoplasty [internet] 2015 [cited 2019 Jun 18]. Available from: URL: https://entokey.com/incisionless-otoplasty
13. Bartel FS. Congenital Auricular Malformations: Description of Anomalies and Syndromes. Facial Plast Surg 2015;31(6):567-80.
14. World Health Organization. WHOQOL: Measuring Quality of Life [internet] 1999 [cited 2019 Jul 12]. Available from: URL: https://www.who.int/healthinfo/survey/ whoqol-qualityoflife/en

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26