ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วัชระ ก้อนแก้ว พ.บ., กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • อภินันท์ ชูวงษ์ พย.ม., กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ความล่าช้า, การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ที่มารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพธารามตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2561 เป็นระยะเวลา 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และข้อมูลการรักษาในโปรแกรม HOSxP นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำด้วยการวิเคราะห์ t-test independent, chi-square test

ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 56 ราย พบว่า ระยะเวลาที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระยะเวลาในการวินิจฉัย ระยะเวลาที่ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) นอกจากนี้ยังพบว่าระยะเวลาที่แพทย์สั่งการรักษา และระยะเวลาในการยินยอมให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยและญาติ มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ เพศ การศึกษา ปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดง ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ระบบการนำส่งผู้ป่วย ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล และการคัดกรอง ไม่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง เป็นบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลรักษา ตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนถึงได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ โรงพยาบาลควรมีการพัฒนาระบบช่องทางเร่งด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ลดขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ เพื่อลดความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ พัฒนาระบบการคัดกรองเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายในระยะเวลา 10 นาที และควรมีการประกันเวลาในทุกกระบวนการดูแลรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายในระยะเวลา 30 นาที

References

1. นิตยา พันธุเวทย์, หทัยชนก ไชยวรรณ.ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/document/ hot%20news.
2. ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ใน: วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์และอภิรดี ศรีจิตรกมล (บรรณาธิการ). อายุรศาสตร์ทันยุค 2552. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2553.
3. ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ใน:วันชัย วนะชิวนาวิน, สุทิน ศรีอัษฎาพร และวันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย (บรรณาธิการ). ตำราอายุรศาสตร์:โรคตามระบบ 2. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2552.
4.ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง และคณะ. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge.
5.อเนก กนกศิลป์. สรุปบริหารจัดการข้อมูล Thai ACS Registry [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.ncvdt.org/Default.aspx.
6. อเนก กนกศิลป์. สรุปบริหารจัดการข้อมูล Thai ACS Registry [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.ncvdt.org/Default.aspx.
7. งานเวชระเบียนและสถิติ. รายงานสถิติประจำปี 2559.โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี.
8. งานเวชระเบียนและสถิติ. รายงานสถิติประจำปี 2560.โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี.
9. งานเวชระเบียนและสถิติ. รายงานสถิติประจำปี 2561.โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี.
10.Ibanez B, James S, Agewall S, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation: The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2018;39(2):119-77. doi:10.1093/eurheartj/ehx393.
11.สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทยฉบับปรับปรุง ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.
12.ณรงค์กร ชัยวงศ์, ปณวัตร สันประโคน. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน:ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ Acute Coronary Syndrome: Challenges of Emergency Nurse in Critical Care. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2562;14(1):43-51.
13.อรอนงค์ ช่วยณรงค์, ดาราวรรณ รองเมือง. การพัฒนาแบบประเมินคัดกรองผู้ป่วยเจ็บแน่นหน้าอกหรือใต้ลิ้นปี่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลระนอง.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.2561;36(3):187-96.
14. นพมาศ พงษ์ประจักษ์ และคณะ. การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี. วารสารการพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก.2560;28(1):69-80.
15. พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ, ศิริอร สินธุ .โครงการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (STEMI) เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.niems.go.th/ th/Upload/File/255907081003085669_bJ8PgJ0H84CNeiaD.pdf.
16. กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์. Door to needle time สำหรับการให้ยาละลายลิ่มเลือดในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2556;7(2):313-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-03